หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาสำคัญดังนี้
=> ให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนใน ตราสารหนี้ พันธบัตร กองทุน และหุ้น
=> แนะนำให้นักลงทุนเข้าใจสถานะความรู้ในการลงทุนของตัวเอง โดยจะแบ่งนักลงทุนเป็น 2 ประเภทคือ
1.นักลงทุนเชิงรับ เป็นนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนระยะยาว 7-8% ต่อปีตลอดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี(ถ้าต่ำกว่านี้อาจจะไม่สามารถทำผลตอบแทนได้ในระดับนี้ - ผู้เขียน blog) เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ชั้นดี พันธบัตร กองทุนดัชนี และหุ้นในสัดส่วนน้อยหรือไม่มีเลย โดยหลักการแล้วนักลงทุนเหล่านี้ไม่ต้องใช้ความสามารถมากนัก จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการศึกษาหุ้นอย่างจริงจัง
2.นักลงทุนเชิงรุก เป็นนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่ดีเลิศในระยะยาว 12% ต่อปีตลอดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปีขึ้นไป เน้นการลงทุนไปที่ ตราสารหนี้ชั้นดี พันธบัตร กองทุนดัชนี และหุ้นในสัดส่วนที่มาก 30:70 นักลงทุนประเภทนี้จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ในการลงทุนอย่างหนัก
*** จะไม่มีนักลงทุนเชิงกึ่งรับกึ่งรุก เพราะหากนักลงทุนเชิงรับเพิ่มความรู้ความสามารถของตนเองเข้าไปอีกเพียงเล็กน้อยแทนที่เขาจะได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นอีกเล็กน้อย แต่ผลลัพธ์ส่วนใหญ่คือความเสียหาย คุณต้องเลือกให้ได้ว่าคุณจะเป็นแบบไหน
*** นักลงทุนทั้ง 2 ประเภทยังคงใช้หลักการลงทุนที่เหมือนกันคือ การเห็นตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้เป็นผู้รับใช้
*** เลือกลงทุนตราสารหนี้ พันธบัตรในช่วงเวลาที่มันให้ผลตอบแทนที่ดีซึ่งปกติจะตรงกันข้ามกับการลงทุนในหุ้น คือเพิ่มพันธบัตรเมื่อดอกเบี้ยสูง( ประมาณ 6% - ผู้เขียน blog) และลดการลงทุนในหุ้นหรือกองทุนลง
*** สำหรับนักลงทุนเชิงรุกเลือกลงทุนในหุ้นตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด (เนื่องจากว่าสภาพแวดล้อมการลงทุนเปลี่ยนไป การเลือกหุ้นด้วยวิธีการดังกล่าวในปี 2559-2560 อาจจะทำได้ยาก แต่หลักการดังกล่าวยังเป็นกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดและดีเสมอ - ผู้เขียน blog)
*** การลงทุนจะดูอัตราส่วนทางการเงินและผลประกอบการในอดีตเป็นหลัก
=> เป็นหนังสือที่สอนถึงการประสบผลสำเร็จด้วยวิธีที่ต้องใช้การอดทน และไม่ลองดีคิดว่าตนเองเก่ง
=> ชี้ว่าการลงทุนในกองทุนควรเป็นกองทุนดัชนี และในระยะยาวแล้วมันจะไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าดัชนีได้ ควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในกองทุนเชิงรุกและกองทุนที่มีค่าดำเนินการสูง(มากกว่า 1% ต่อปีถือว่าสูง - ผู้เขียน blog)
=> สามารถนำมาใช้กับตลาดหุ้นไทยได้
=> นิยามนายตลาด ลองสมมติว่าคุณเป็นเจ้าของหุ้นในบริษัทส่วนตัวบริษัท และคุณมีหุ้นส่วนคนหนึ่งชื่อ “นายตลาด” ทุกๆ วันเขาจะมาเสนอซื้อหรือเสนอขายหุ้นให้กับคุณ
บางครั้งความคิดของเขาเกี่ยวกับราคาหุ้นที่เขาบอกมานั้นก็ดูมีเหตุมีผล แต่ในบางครั้ง ราคาหุ้นที่เขาเสนอมาดูเหมือนจะเป็นราคาที่ดูโง่เขลาในสายตาของคุณ
นักลงทุนที่แท้จริงจะสามารถหาประโยชน์จากราคาซื้อขายหุ้นรายวันของนายตลาด หรืออาจจะปล่อยไว้เฉยๆ ก็ได้ แล้วแต่ความเข้าใจและวิจารณญาณของตนเอง
โดยทั่วไปแล้ว ความผันผวนของราคาหุ้นมีความหมายเพียงอย่างเดียวสำหรับนักลงทุนที่แท้จริง
นั่นก็คือเป็นโอกาสที่จะซื้อหุ้นเมื่อราคาลดลง และเป็นโอกาสในการขายหุ้นเมื่อราคาเพิ่มขึ้นอย่างมาก
โดยส่วนใหญ่แล้ว นักลงทุนจะทำผลตอบแทนได้ดีขึ้น ถ้าเขาเลิกสนใจตลาดหุ้น และหันไปให้ความสนใจกับเงินปันผลและผลประกอบการของบริษัทมากกว่า” คัดลอกบางส่วนมาจาก investmentdatas.blogspot.com (หากคุณไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของนายตลาดหนึ่งในนั้นคือเลิกติดตามข่าว นักวิเคราะห์หุ้นทั้งหลายที่พยายามทำนายอนาคตและทำนายเศรฐกิจ - ผู้เขียน blog )