Tuesday, October 3, 2017

กรณีศึกษา 90/90 VS 90/20

กรณีศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงแง่คิดต่างๆของประกันชีวิต ว่าควรเลือกแบบใดจึงให้ผลตอบแทนดีที่สุด


ผมขอยกตัวอย่างของผมเอง
1.อาชีพชั้นที่ 1
2.อายุ 42 ปี
3.เปรียบเทียบผลตอบแทนเมื่อถึง 20 ปี
4.ทำประกันแบบ 90/90 กับ 90/20 อะไรดีกว่ากัน

>> แบบA 90/90 + term 19 ปี + CIYRT

ทุกประกันหลัก 200,000 บาท ชำระเบี้ย 2,440x2 = 4,880 บาทต่อปี
term19 ปี ทุน 500,000 บาท ชำระเบี้ย 962x5 = 4,810 บาท/ปี
CIYRT ทุน 500,000 บาท ชำระเบี้ย 4,655 บาท/ปี

รวม 14,345 บาทต่อปี
ผลประโยชน์ที่จะได้รับ
ตายทุกรณี 1.2 ล้านบาท
เป็นโรครายแรงแต่ยังไม่ตาย 0.5 ล้านบาท


>> แบบB 90/20 + term 19 ปี + CIYRT

ทุกประกันหลัก 200,000 บาท ชำระเบี้ย 3,190x2 = 6,380 บาทต่อปี
term19 ปี ทุน 500,000 บาท ชำระเบี้ย 962x5 = 4,810 บาท/ปี
CIYRT ทุน 500,000 บาท ชำระเบี้ย 4,655 บาท/ปี

รวม 15,845 บาทต่อปี
ผลประโยชน์ที่จะได้รับ
ตายทุกรณี 1.2 ล้านบาท
เป็นโรครายแรงแต่ยังไม่ตาย 0.5 ล้านบาท
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

*** เพื่อให้เปรียบเทียบกันง่ายๆ ขอเทียบเฉพาะเบี้ยของประกันหลักต่อ1แสน และจะไม่ประเมินอนุสัญญาเพราะเป็นเบี้ยปีต่อปีไม่มีการสะสมของเงิน ***


ทั้งสองแบบมีความคุ้มครองเท่ากัน แต่ต่างกันที่เบี้ยประกันหลัก ต่างกันอยู่ที่ 1500 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 750 บาทต่อความคุ้มครอง 1 แสนต่อปี

ในปีที่ 20 ของกรมธรรม์หากผมจะเวนคืนกรรมธรรม์ ผมจะได้เงินดังนี้

แบบA เวนคืนได้ 35,000 บาท (จ่ายมา 20 ปีรวมเป็นเงิน 2,440x20 = 48,800 บาท ขาดทุน -13,800 บาท)
แบบB เวนคืนได้ 56,200 บาท (จ่ายมา 20 ปีรวมเป็นเงิน 3,190x20 = 63,800 บาท ขาดทุน -7,600 บาท)


แต่ข้อแต่ต่างระหว่าง 2 กรมธรรม์คืนเงินส่วนเกิน 750 บาท ผมจะไปทำประโยชน์ดังนี้

ข้อสรุปที่1. หากตัวผมเลือก 90/90 ผมจะมีเงินเหลือปีละ 750 บาท ผมจะนำเงินนี้ไปทำการซื้อกองทุนและมันก็ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 4%   (ดูตารางการคำนวณผลตอบแทนทบต้นท้ายบทความ)
ในแบบ 90/90 ผมจะมีกำไรในปีที่ 20 อยู่ที่ 9,427 บาท ในขณะที่ 90/20 ขาดทุน -7,600 บาท




ข้อสรุปที่2. หากตัวผมเลือก 90/90 ผมจะมีเงินเหลือปีละ 750 บาท ผมจะนำเงินนี้ไปทำการฝากประจำและมันก็ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 1.8%   (ดูตารางการคำนวณผลตอบแทนทบต้นท้ายบทความ)
ในแบบ 90/90 ผมจะมีกำไรในปีที่ 20 อยู่ที่ 2,262 บาท ในขณะที่ 90/20 ขาดทุน -7,600 บาท


















และผมจะลองคำนวณการเวนคืนกรมธรรม์ในปีที่ 30 ซึ่งในขณะนั้นผมคงไม่ต้องการคุ้มครองอะไรแล้วครับ อายุปาเข้าไป 72 ปี
โดยที่ 90/90 ต้องส่งเบี้ยเป็นเวลา 30 ปี ในขณะที่ 90/20 ส่งเบี้ย 20 ปี ทำให้เกิดข้อสรุปที่3และ4

ข้อสรุปที่3. นำเงินส่วนเกิน 750 บาท แบบ90/90 จะมีกำไร 16,081 บาท ส่วนแบบ90/20 จะมีกำไรเช่นกันที่ 5,800 บาท

















ข้อสรุปที่4. แบบ90/90 จะมีกำไร 3,438 บาท ส่วนแบบ90/20 จะมีกำไรเช่นกันที่ 5,800 บาท ซึ่งเป็นแบบที่ 90/20 ดีกว่า 90/90 นั้นแสดงว่าแบบ90/20 ในระยะยาวให้ผลตอบแทนดีกว่า 1.8% ต่อปี ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่ไม่สามารถนำเงินส่วนเกินไปทำประโยชน์ได้มากกว่า 1.8% ต่อปี
















แต่ถ้าจะมองเรื่องผลตอบแทนกันจริงๆ เราควรต้องเข้าใจเป็นอย่างดีว่าเงินที่เราส่งเบี้ยไปทุกๆปีสำหรับส่วนของประกันหลักจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ก้อนได้แก่ 1.นำไปเป็นเบี้ยประกันชีวิตจริงๆคล้ายๆกันเบี้ยแบบ TERM ที่ส่งปีต่อปีแต่มีสัญญาระยะยาว 2.เงินออมทรัพย์และจะถูกนำไปคำนวณเป็นเงินคืนไม่ว่าจะคืนเมื่อครบสัญญาหรือคืนก่อนกำหนด(เวนคืนกรมธรรม์)

การเลือกทำประกันแบบใดก็คงขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคน ความต้องการของแต่ละคนคงไม่เหมือนกัน แต่ถ้ามั่นใจว่าจะจัดการเงินได้ผลตอบแทนดีๆเช่นในตัวอย่างคืน 4% ก็ให้เลิือกแบบ 90/90
แต่ถ้ามองระยะยาวมากคือถือกรมธรรม์ไปจนอายุครบ 90 ปี 90/20 ก็เป็นตัวเลือกที่ดีหากคุณไม่สามารถหาผลตอบแทนที่ดีกว่า 2.75 ต่อปี




ตารางเงินสะสมจากการลงทุนซื้อกองทุนผลตอบแทนเฉลี่ย 4% ต่อปี โดยหยุดเพิ่มเงินในปีที่ 20



ตารางเงินสะสมจากการฝากเงินผลตอบแทนเฉลี่ย 1.8% ต่อปี โดยหยุดเพิ่มเงินในปีที่ 20



วรินทร์ จิรเจษฎา
จันทร์เพ็ญ เทียมชัยภูมิ



No comments:

Post a Comment