Monday, October 9, 2017

เป้าหมายคือ ได้ผลตอบแทนดีในระยะยาว


ตั้งแต่ลงทุนมาจากปี 2547(ปลายธค.2546) สิ่งที่ผมอยากได้จากการลงทุนคือ การมีผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอในระยะยาว โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 18% ตลอดเวลา 20 ปี
ผ่านไปถึงวันนี้ก็ 14 ปีแล้ว สิ่งที่วางแผนก็เป็นไปเป้าหมายที่วางไว้ แต่ผมก็ไม่มีข้อมูลอะไรที่จะเปรียบเทียบผลตอบแทนที่ว่าได้
ในปี 2014 ทางโบรกเกอร์บัวหลวง(BLS) ได้ทำมีเครื่องมือการวัดผลตอบแทนซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับกองทุนที่แสดงค่า NAV ทำให้นับแต่วันนั้นผมก็มีตัวเปรียบเทียบกับกองทุน

พอร์ตแรก
ได้รับผลตอบแทนตั้งแต่ 2014- 6 Oct 2017 เป็นจำนวน 162.33% เป็นตัวเลขที่เอาชนะกองทุนทุกประเภทในประเทศไทย

ในขณะที่ผลตอบแทนในช่วง 1 Jan 2017 - 6 Oct 2017 ทำได้ 30.4% ตัวเลขนี้แพ้กองทุนในประเทศของกรุงศรีที่ทำผลงานได้ถึง 33.3% ส่วนของบลจ.อื่นๆทำได้น้อยกว่า30% และแพ้กองทุนต่างประเทศที่ปีนี้ทำได้ดีมากโดยส่วนใหญ่มีหลายๆกองที่มีผลตอบแทนเกิน 30%


ตารางผลตอบแทนกองทุนที่มีผลตอบแทนเกิน 30% จากต้นปี 2017 ถึง October 2017 ข้อมูลจาก Morningstarthailand.com
พอร์ตที่2

ผลตอบแทนในช่วง 1 Jan 2017 - 6 Oct 2017 ทำได้ 30.87% และผลตอบแทนตั้งแต่ 2014- 6 Oct 2017 เป็นจำนวน 163.32% ถือว่าใกล้เคียงกับพอร์ตที่1 มาก

พอร์ตที่3
ผลตอบแทนตั้งแต่ 2014- 6 Oct 2017 เป็นจำนวน 129.57% น้อยกว่า พอร์ตที่1และ2 ราวๆ 30% มีเหตุผล2ประการที่ทำให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน
1.เพราะการเพิ่มเงินลงทุนที่เป็นเงินสดระหว่างปี (สีแดงของกราฟแท่งด้านล่างสุดแสดงมูลค่าเงินสดคิดเป็น% และสีฟ้าของกราฟแท่งแสดงมูลค่าหุ้นที่ถือครอง) และเป็นจำนวนถึง 20% ของพอร์ตและไม่ได้นำไปซื้อหุ้นเพิ่มทำให้เมื่อหุ้นในพอร์ตมีราคาเพิ่มสูงขึ้นผลตอบแทนจึงไม่ได้เพิ่มตามมานัก
2.มีการถือครองเงินสดในจำนวนที่เยอะเกินความจำเป็น
ถ้าจะเปรียบเทียบพอร์ตนี้คงเทียบได้กับกองทุน 70/30 ที่ลงหุ้น 80% ส่วน 20% ลงทุนในตราสารหนี้

พอร์ตที่4

ผลตอบแทนตั้งแต่ 2014- 6 Oct 2017 เป็นจำนวน 153.46 % ถือว่าภาพรวมทำได้น้อย แต่ถ้าดูในรายละเอียดพอร์ตนี้มีผลตอบแทนดีที่สุดที่ทุกพอร์ตการลงทุน เพราะถือครองเงินสด(ซึ่งมีผลตอบแทนต่ำแค่าราวๆ 1%) เป็นจำนวนมากเกือบตลอดเวลา และในช่วงมีนาคมของปีนี้หุ้นส่วนใหญ่ได้ถูกย้ายไปที่โบรกเกอร์ SBITO ที่มีค่านายหน้าต่ำกว่าบัวหลวงครึ่งหนึ่ง ทำให้พอร์ตนี้ไม่ได้มีการเก็บสถิติแล้ว
แต่ผมจะเริ่มเก็บนับตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นไปในรูปแบบ EXCEL

เครื่องมือที่ใช้ในการลงทุน

1.หนังสือเพื่อชี้แนะการลงทุน ได้แก่หนังสือที่เขียนถึงหลักการลงทุนของ warren buffet เช่น buffetology, หนังสือของ Phillip A fisher หุ้นสามัญกำไรไม่สามัญ, หนังสือของ Peter Lynch กาลครั้งหนึ่ง ณ วอลสตรีต และอีกหลายเล่ม
โดยส่วนตัวของผมอ่านไปไม่น่าจะน้อยกว่า 20 เล่ม






2.รายงานประจำปี/รายงานผลประกอบการรายไตรมาส/แบบ F56-1 หาเรารู้แค่หลักการการลงทุนก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่รู้หลักการที่ทำให้เรียนดีแต่ไม่รู้วิธีการว่าจะทำอย่างไรกับมันให้ได้ผลที่ดี รายงานประจำปี/รายงานผลประกอบการ/แบบ F56-1 (ผมขอเรียกว่ารายงานการดำเนินงาน) จะบอกถึงโอกาสและปัญหา ตัวเลขตัวหนังสือจะแสดงถึงทั้งอดีตที่ผ่านไปแล้ว และอนาคตที่มีบางอย่างที่เกือบแน่นอนและไม่แน่นอน รวมถึงการแสดงความเห็นของฝ่ายบริหารเพื่อให้เราเห็นว่าระหว่างบริษัทหนึ่งกับอีกบริษัทหนึ่งที่อยู่ในอุตสหกรรมเดียวกันมองอะไรที่แตกต่างกัน หรือเป็นการแก้ตัวในข้อผิดพลาดของฝ่ายบริหาร และจงอย่าเชื่อข้อความที่สวยหรูของฝ่ายบริหาร จงดูผลของการกระทำที่ผ่านมาว่าดูดีแค่ไหน
(คำแนะนำควรอ่านปีละไม่น้อยกว่า 100 บริษัท)
3.นำงบการเงินมาทำเป็นตัวเลขติดต่อกันหลายๆปี หรือหลายๆไตรมาส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรายได้ กำไร ค่าใช้จ่าย กระแสเงินสด
ต่อไปนี้คือตัวอย่างของกราฟการผลประกอบการ หากบริษัททำดีมาตลอดโอกาสทำดีในอนาคตย่อมมีโอกาสสูง อย่างไรก็ตามควรดูคุณภาพของกิจการผ่านข้อ2 ด้วย









3.การติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตของสังคม การเปลี่ยนแปลงทำให้เราได้พบหุ้นที่มีการเติบโตของรายได้และกำไรทั้งๆที่ GDP ของโลกก็โตแค่ 3% แต่กลับมีหุ้นบางตัวเติบโตสูง นั้นเป็นเพราะการแทนที่ของล้าสมัยด้วยของที่ทันสมัย ของที่ล้าสมัยต่อให้งบการเงินดูดีสุดท้ายมันก็ล่มสลาย

4.ถ้าเป็นคนไม่สร้างหนี้กลัวการมีหนี้ก็เลือกหุ้นที่ฐานะการเงินดีและธุรกิจยังโตได้ จะปลอดภัยที่สุดไม่ว่าดอกเบี้ยขาขึ้นหรือขาลง

No comments:

Post a Comment