Saturday, December 30, 2017

ผลตอบแทนปี 2560

ผมบันทึกผลงานการลงทุนมาตลอดนับตั้งแต่เริ่มลงทุนเมื่อ 2547
ปีนี้ 2560 ผมขอบันทึกผลงานของ SET ก่อนดังนี้

SET TRI ทำได้ 17.3%
SET50 TRI ทำได้ 21.52%
SET100 TRI ทำได้ 20.50%
SETHD TRI ทำได้ 15.66%
mai TRI ทำได้ -10.97%
กองทุน SCBLTS ทำได้ 5.85% (เป็นกองทุน LTF ที่น่าจะแย่ที่สุด)
กองทุน CG-LTF ทำได้ 19.2% (เป็นกองทุน LTF ที่ดีที่สุด)

(ดัชนี TRI เป็นการวัดผลตอบแทนที่รวมเอาเงินปันผลและสิทธิอื่นๆเข้ามาคำนวณ ในขณะที่ ดัชนีปกติ เช่น SET จะไม่นำเอาเงินปันผลมาคำนวณ)

ผมไม่ได้นำกองทุน LTF ที่เป็นกองทุนดัชนี SET50 มาเปรียบเทียบเพราะผลตอบแทนควรจะใกล้เคียงกับ SET50 TRI และน่าจะต่ำกว่าเล็กน้อยเนื่องจากค่าธรรมเนียการซื้อขาย และผมยังคงแนะนำให้นักลงทุนระยะยาวเชิงรับซื้อกองทุนดัชนีSET50

ในขณะที่ส่วนตัวผมทำผลงานได้ 50% เป็นปีที่ดีของผม อันที่จริงแล้วผมลงทุนมามากกว่า 10 ปีแต่การวัดผลตอบแทนไม่สามารถทำได้โดยง่ายเพราะต้องเก็บข้อมูลโดยตลอด แต่ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา หลักทรัพย์บัวหลวงได้มีฟังชั่นที่ชื่อว่า itracker ที่สามารถติดตามและวัดผลการลงทุนได้อย่างดี (และทุกโบรกเกอร์ก็ควรจะมีเช่นเดียวกันกับบัวหลวง....แต่ยังไม่มี) ทำให้ผมสามารถติดตามผลตอบแทนของตัวเองได้ง่ายมาก
ฟังชั่น itracker ของบัวหลวงแสดงผลตอบแทนตามระยะเวลา


*** ตารางด้านล่างเป็นการเปรียบเทียบเงินลงทุน 1แสนบาท ที่ลงในปลายปี(31 ธค.) เมื่อเวลาผ่านไปทุกๆปีเงิน 1 แสนจะเป็นเท่าไหร่


เราจะพบว่า กองทุน CG-LTF ได้ผลตอบแทนดีที่สุด(ยังไม่ได้รวมสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เราสามามารถนำเงินที่ซื้อไปหักรายได้) โดยผ่านไป 10 ปี เงิน 1 แสนจะเป็น 375,725 บาท แต่ถ้าลงทุนผิดกองจะทำให้ดีกว่าเงินฝากเล็กน้อย

*** ตารางด้านล่างเป็นผลตอบแทนคิดเป็น% ในแต่ละปี

มีข้อคิดอีกแบบคือ ตลาดหลักทรัพย์ได้จัดกลุ่มหุ้นที่มีปันผลสูงคือ SETHD ผ่านไปถึง 6 ปีก็พบว่ามันไม่ได้มีผลตอบแทนที่ดีกว่าดัชนีอื่นเลย เป็นสิ่งที่ผมเคยยืนยันมาตลอดว่าการลงทุนในหุ้นที่ปันผลไม่ใช่การลงทุนที่ดีที่สุด

*** ตารางด้านล่างเป็นผลตอบแทนทบต้น (Annualized Return) เพื่อที่จะเทียบว่าที่ผ่านมา ผลตอบแทนของแต่ละกลุ่มได้กี่เปอร์เซนต์ทบต้น ผมจะคำนวณโดยใช้สูตร IRR ที่เป็นมาตราฐานในการคำนวณ
โดยกองทุน LTF เป็นการคำนวณบนสมมติฐานที่ว่า ผู้ลงทุนมีฐานภาษีที่ 10%

ผมได้ทำตารางแยกว่าการลงทุนในหุ้นปันผลนั้นแย่กว่า SET พอสมควร โดยคำนวณในช่วงปี 2555 -2560 (ระยะเวลาการลงทุน 6 ปี )
จากตารางด้านบนพบกว่าดัชนีหุ้นปันผลนั้นแพ้ดัชนีปกติถึง 5% ทบต้นในระยะเวลา 6 ปีเลยทีเดียว

สุดท้ายผมทำกราฟเงินลงทุน 1 แสนบาทจะเป็นมูลค่าเท่าไหร่ในสิ้นปี 2560




Tuesday, November 28, 2017

สรุปเนื้อหา The intelligent investor ตอนที่1


หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาสำคัญดังนี้

=> ให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนใน ตราสารหนี้ พันธบัตร กองทุน และหุ้น

=> แนะนำให้นักลงทุนเข้าใจสถานะความรู้ในการลงทุนของตัวเอง โดยจะแบ่งนักลงทุนเป็น 2 ประเภทคือ
     1.นักลงทุนเชิงรับ เป็นนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนระยะยาว 7-8% ต่อปีตลอดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี(ถ้าต่ำกว่านี้อาจจะไม่สามารถทำผลตอบแทนได้ในระดับนี้ - ผู้เขียน blog) เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ชั้นดี พันธบัตร กองทุนดัชนี และหุ้นในสัดส่วนน้อยหรือไม่มีเลย โดยหลักการแล้วนักลงทุนเหล่านี้ไม่ต้องใช้ความสามารถมากนัก จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการศึกษาหุ้นอย่างจริงจัง

     2.นักลงทุนเชิงรุก เป็นนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่ดีเลิศในระยะยาว 12% ต่อปีตลอดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปีขึ้นไป เน้นการลงทุนไปที่ ตราสารหนี้ชั้นดี พันธบัตร กองทุนดัชนี และหุ้นในสัดส่วนที่มาก 30:70 นักลงทุนประเภทนี้จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ในการลงทุนอย่างหนัก

*** จะไม่มีนักลงทุนเชิงกึ่งรับกึ่งรุก เพราะหากนักลงทุนเชิงรับเพิ่มความรู้ความสามารถของตนเองเข้าไปอีกเพียงเล็กน้อยแทนที่เขาจะได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นอีกเล็กน้อย แต่ผลลัพธ์ส่วนใหญ่คือความเสียหาย คุณต้องเลือกให้ได้ว่าคุณจะเป็นแบบไหน

*** นักลงทุนทั้ง 2 ประเภทยังคงใช้หลักการลงทุนที่เหมือนกันคือ การเห็นตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้เป็นผู้รับใช้

*** เลือกลงทุนตราสารหนี้ พันธบัตรในช่วงเวลาที่มันให้ผลตอบแทนที่ดีซึ่งปกติจะตรงกันข้ามกับการลงทุนในหุ้น คือเพิ่มพันธบัตรเมื่อดอกเบี้ยสูง( ประมาณ 6% - ผู้เขียน blog) และลดการลงทุนในหุ้นหรือกองทุนลง

*** สำหรับนักลงทุนเชิงรุกเลือกลงทุนในหุ้นตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด (เนื่องจากว่าสภาพแวดล้อมการลงทุนเปลี่ยนไป การเลือกหุ้นด้วยวิธีการดังกล่าวในปี 2559-2560 อาจจะทำได้ยาก แต่หลักการดังกล่าวยังเป็นกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดและดีเสมอ - ผู้เขียน blog)

*** การลงทุนจะดูอัตราส่วนทางการเงินและผลประกอบการในอดีตเป็นหลัก

=> เป็นหนังสือที่สอนถึงการประสบผลสำเร็จด้วยวิธีที่ต้องใช้การอดทน และไม่ลองดีคิดว่าตนเองเก่ง

=> ชี้ว่าการลงทุนในกองทุนควรเป็นกองทุนดัชนี และในระยะยาวแล้วมันจะไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าดัชนีได้ ควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในกองทุนเชิงรุกและกองทุนที่มีค่าดำเนินการสูง(มากกว่า 1% ต่อปีถือว่าสูง - ผู้เขียน blog)


=> สามารถนำมาใช้กับตลาดหุ้นไทยได้

=> นิยามนายตลาด ลองสมมติว่าคุณเป็นเจ้าของหุ้นในบริษัทส่วนตัวบริษัท และคุณมีหุ้นส่วนคนหนึ่งชื่อ “นายตลาด” ทุกๆ วันเขาจะมาเสนอซื้อหรือเสนอขายหุ้นให้กับคุณ
บางครั้งความคิดของเขาเกี่ยวกับราคาหุ้นที่เขาบอกมานั้นก็ดูมีเหตุมีผล แต่ในบางครั้ง ราคาหุ้นที่เขาเสนอมาดูเหมือนจะเป็นราคาที่ดูโง่เขลาในสายตาของคุณ
นักลงทุนที่แท้จริงจะสามารถหาประโยชน์จากราคาซื้อขายหุ้นรายวันของนายตลาด หรืออาจจะปล่อยไว้เฉยๆ ก็ได้ แล้วแต่ความเข้าใจและวิจารณญาณของตนเอง
โดยทั่วไปแล้ว ความผันผวนของราคาหุ้นมีความหมายเพียงอย่างเดียวสำหรับนักลงทุนที่แท้จริง 
นั่นก็คือเป็นโอกาสที่จะซื้อหุ้นเมื่อราคาลดลง และเป็นโอกาสในการขายหุ้นเมื่อราคาเพิ่มขึ้นอย่างมาก
โดยส่วนใหญ่แล้ว นักลงทุนจะทำผลตอบแทนได้ดีขึ้น ถ้าเขาเลิกสนใจตลาดหุ้น และหันไปให้ความสนใจกับเงินปันผลและผลประกอบการของบริษัทมากกว่า” คัดลอกบางส่วนมาจาก investmentdatas.blogspot.com (หากคุณไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของนายตลาดหนึ่งในนั้นคือเลิกติดตามข่าว นักวิเคราะห์หุ้นทั้งหลายที่พยายามทำนายอนาคตและทำนายเศรฐกิจ  - ผู้เขียน blog )



Thursday, November 16, 2017

กองทุนดัชนี

เหตุผลที่ต้องเลือกลงทุนในกองทุนดัชนี

- ก่อนอื่นควรตรวจสอบว่าเรามีความรู้เรื่องการลงทุนมากน้อยแค่ไหน หรือเทียบง่ายๆว่าสามารถลงทุนในหุ้นด้วยตนเองแล้วได้ผลตอบแทนที่ดีในระยะเวลา 3 ปีหรือไม่ หากไม่คุณควรเข้าใจว่ากองทุนก็เป็นทางเลือกอย่างหนึ่ง
- กองทุนนั้นมีหลายประเภท การเลือกลงทุนของผจก.กองทุนก็มีผลตอบแทนที่ดีและแย่ได้ ไม่มีอะไรรับประกันว่ากองทุนจะได้ผลตอบแทนที่ดี
- กองทุนเชิงรุกจะมีผลตอบแทนทั้งดีกว่าค่าเฉลี่ยของดัชนี และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของดัชนี นอกจากนี้มักมีค่าธรรมเนียมในการบริหารสูงกว่ากองทุนเชิงรับ(passive) แต่โดยส่วนมากแล้วในระยะยาวกองทุนเชิงรุกจะมีผลตอบแทนที่ต่ำกว่าดัชนี และต่ำกว่ากองทุนดัชนีที่เก็บค่าธรรมเนียมต่ำ
- กองทุนเชิงรุกอาจจะมีผลตอบแทนที่ดีในระยะสั้น แต่ในระยะยาวอาจจะเสียหายได้ นอกจากนี้แล้วในระยะ 10 ปีขึ้นไป ค่าธรรมเนียมในระดับ 2% ต่อปีขึ้นไปจะทำให้กองทุนเชิงรุกเสียหายหนักได้
- การที่กองทุนเชิงรุกบางกองยังมีผลตอบแทนที่ดีได้ นั้นเป็นเพราะผู้บริหารบางคนมีความสามารถสูงและยังอยู่ดูแลกองทุนนั้น หากเขาคนนั้นลาออกไปผลตอบแทนก็จะเปลี่ยนไป และเหตุการณ์เหล่านี้ได้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆในอเมริกาเนื่องจากการซื้อตัวของบริษัทจัดการกองทุนอื่น และหลายๆกรณีที่กองทุนคนเดิมก็ไม่สามารถรักษาผลกำไรที่ดีเอาไว้ในระยะยาวได้

ทำไมควรลงทุนในกองทุนดัชนีนำตลาด

เช่น S&P500, SET50
- ให้ผลตอบแทนตามมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ
- หุ้นที่ไม่เข้าเกณฑ์จะถูกถอดถอนออกจาก SET50 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นดีๆจะอยู่ใน SET50
- ไม่ต้องพิ่งพาความสามารถของผจก.กองทุน เอาคนโง่ๆมาบริหารก็ยังได้ผลตอบแทนตามดัชนี ซึ่งควรเพิ่มขึ้นไปตามกาลเวลา ตามขนาดเศรษฐกิจของประเทศ
- ค่าธรรมเนียมในการจัดการต่ำเมื่อเทียบกับกองทุนแบบเชิงรุก(active) ทำให้ในระยะยาว กองทุนเชิงรับจะได้ผลตอบแทนที่ดีได้เช่นกัน

ควรเลือกกองทุนดัชนีอะไรบ้าง

1.หากเลือกกองทุนในประเทศจะได้เปรียบเรื่องค่าธรรมเนียมในการซื้อขายและการบริหาร และหากจะให้ดีควรลงทุนในกอง LTF ทำให้เราสามารถนำค่าซื้อกองทุนนี้ไปหักรายได้เพื่อลดหย่อนภาษีอีกทาง

2.ถ้าจะลงทุนตปท.ควรมองไปที่ประเทศที่ได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น USA CHINA และอยู่ในช่วงการเติบโต แต่จะมีความเสี่ยงอื่นๆเช่น อัตราแลกเปลี่ยน ค่าดำเนินการที่สูง(2 ต่อ ค่าจ่ายให้กับผู้ดำเนิการในไทยและผบห.กองทุนในตปท.)

3.ควรจัดสรรสัดส่วนการลุงทุนตามความรู้ความสามารถ ติดตามว่าประเทศใดจะมีการเติบโตในช่วงใดที่ดีหรือมีอนาคตมากกว่ากัน ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละคน

จังหวะในการลงทุน

- หลายคนชอบลงทุนแบบ DCA ทยอยลงทุกๆเดือนตามที่เงินเดือนออกเพื่อวินัยในการลงทุน แต่โดยส่วนตัวเห็นว่าควรซื้อในจังหวะใดที่ตลาดตกต่ำแล้วใช้เงินเยอะๆจะดีกว่า โดยการเก็บเงินไว้ในธนาคารก่อนเมื่อมีจังหวะก็ซื้อคราวละมากๆ
- การเข้าผิดจังหวะก็อาจจะทำให้เสียหายได้ อย่าคิดว่ากองทุนเสียหายหนักๆไม่ได้ บางทีการซื้อกองทุนในสภาวะกระทิง(คือช่วงที่ดัชนีขึ้นสูงต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายเดือนหรือ 2-3 ปี) จะทำให้ผลตอบแทนในระยะยาวต่ำลงอย่างมาก
- ในขณะที่ตลาดหุ้นเป็นกระทิง ดัชนีขึ้นติตต่อกันมานาน จงระลึกเสมอว่าหากการเพิ่มขึ้นของดัชนีที่ไม่สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของผลการดำเนินงานที่เป็นกำไร แม้การเพิ่มขึ้นนี้จะเป็นความสบายใจของนักลงทุนที่เห็นพอร์ตสีเขียว แต่สำหรับผู้ที่เข้ามาใหม่อาจจะต้องพบกับความเสียหายได้และไม่นานดัชนีก็จะกลับไปสู่จุดที่เหมาะสมกับผลประกอบการของมัน
- ในขณะที่ตลาดเป็นหมีซบเซามานาน หรือการลดลงของดัชนี 20% ขึ้นไป อาจจะทำให้นักลงทุนไม่กล้าเพราะเข็ดกับการติดดอยก่อนหน้านี้ แต่นี่จะเป็นจังหวะของการเข้าซื้อหุ้น และการซบเซานั้นเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ และสถิตินี้จะอยู่ต่อไปอีกนาน

ความเข้าใจผิดการลงทุนระยะยาวจะให้ผลตอบแทนที่ดีเสมอ

- หลายคนมีความเข้าใจเช่นนั้น ซื้อแล้วถือยาวแล้วในระยะยาวถ้าหุ้นดีมันก็จะกลับมาและให้ผลตอบแทนที่ดี ฟังดูก็มีเหตุผล แต่การเลือกลงทุนในจังหวะที่ตลาดเป็นกระทิงมากๆอาจจะทำให้ผลตอบแทนคุณดูแย่ลงไปทีเดียว
- มีหลายคนต่างนำสถิติ SET ในปี2536-2537 เป็นช่วงที่ดัชนีขึ้นสูง(ดอย)แล้วบอกว่าซื้อตอนนั้นมาถึงตรงนี้ไม่ขาดทุนแล้ว! ไม่จริงเลย ไม่ว่าSETหรือSET50 ต่างก็บรรจุหุ้นที่ยังอยู่รอด มีหุ้นอีกหลายตัวล้มหายตายจากไป แล้วมันก็ไม่ได้นำไปรวมเป็นค่าดัชนี มันเป็นปัญหาที่เรียกว่า survivorship bias ดังนั้นจงอย่าประมาทในการเลือกลงทุน
- ดังนั้นการเลือกลงทุนในกองทุนที่มิใช่กองทุนดัชนี อาจจะทำคุณเสียหายได้ในระยะยาว มีมากมายหลายกองทุนที่ต้องเสียหาย แต่จะว่าไปแล้วผู้ที่เสียหายจริงๆก็คือผู้ถือหน่วยไม่ใช่ตัวผู้บริหารกองทุนที่ได้รับผลตอบแทนดีอยู่แล้ว

ข้อสรุปสำหรับนักลงทุนเชิงรับในประเทศ

- ผมแนะนำให้ลงทุนในกองทุน LTF ที่เป็นกองทุนดัชนี SET50 และควรจะลงทุนอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป นอกจากผลประโยชน์ด้านภาษีแล้วยังทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนปกติที่ได้จากการลงทุน SET50
- ควรมองหากองทุนที่มีค่าจัดการต่ำๆ
- หาจังหวะซื้อที่เหมาะสมเพื่อให้ผลตอบแทนออกมาดี ไม่ควรซื้อในภาวะตลาดกระทิง ควรซื้อในช่วงตลาดหมี แต่อย่างไรก็ดีจัวหวะเหล่านี้ก็ไม่อาจจะกะกันได้ง่ายๆ ต้องใช้ประสบการณ์และความเข้าใจเรื่องของมูลค่าแพงไม่แพงของดัชนีมาเป็นตัวตัดสิน โดยให้พิจารณาถึง P/BV, เงินปันผล และอัตราดอกเบี้ย เป็นเกณฑ์สำคัญ และปริมาณการซื้อขายก็เป็นตัวชี้วัดอีกตัวที่พอจะบอกสภาวะตลาดได้คือหากปริมาณการซื้อขายต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมา 10 วันทำการก็เป็นสัญญาซื้อของนักลงทุน โดยอาจจะแบ่งเงินทะยอยซื้อก็ได้

แหล่งข้อมูลกองทุน
1. wealthmagik
2. Morningstarthailand


Thursday, November 9, 2017

หุ้นประกันชีวิต

การวิเคราะห์หามูลค่าหุ้นประกันชีวิตโดยนักวิเคราะห์และนักลงทุนทั่วไปนั้นทำไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะนักวิเคราะห์ไม่ทราบถึงรายละเอียดของกรมธรรม์แต่ละฉบับของลูกค้าในแต่ละคน หรือแต่ละชนิดของกรมธรรม์นั้นๆ บริษัทมหาชนอย่าง BLA จึงเปิดเผยค่า EV

หลักการทั่วๆไปในการวิเคราะห์คือ การหามูลค่ากิจากร EV หรือ Embedded Value แต่ค่านี้เกิดจากสมมติฐานหลายตัว และต้องนำกรมธรรม์ลูกค้าทุกฉบับมาคำนวณ(โดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย)

ในปี 2559 BLA มี EV 54,739 ล้านบาทที่ discount rate 9% และ ROI 4.25% ในขณะที่ market cap. ของ BLA อยู่ที่ 37x1708 = 63,196 ล้านบาท
โดยหลักการวิเคราะห์ธุรกิจอะไรก็ตามเราก็ควรจะเข้าใจวิธีการดำเนินกิจการของบริษัทนั้นๆเป็นอย่างดี การหามูลค่าของธุรกิจประกันชีวิตนั้นมีรายสุทธิ(กำไรขั้นต้น)คือ
1.การรับเบี้ยประกัน(คุ้มครองชีวิตและสุขภาพ)ลบอัตราการเคลม

2.การนำเงินที่ยังไม่ได้จ่ายเคลมไปแสวงหาผลประโยชน์(ระยะสั้น กลาง ยาว ตามอายุสัญญาของกรมธรรม์) เงินส่วนนี้เราเรียกว่า float

3.สำหรับสัญญาระยะยาว(เฉพาะกรมธรรม์หลัก)เช่น whole life 90/20 ถือเป็นสัญญาระยะยาวเป็นสัญญาที่บริษัทได้ผลประโยชน์มากที่สุด เพราะสามารถวางแผนการลงทุนระยะยาวได้ซึ่งจะได้ผลตอบแทน ROI ราวๆ 3%(risk free rate) และอาจจะมากกว่านี้หากมีการผสมกับตราสารหนี้เอกชนและตราสารทุน ซึ่งในภาวะปัจจุบันควรอยู่ที่ 5% แต่บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ได้ 2 แนวทางคือการมรณะ และการคืนเงินซึ่งจะให้ผลตอบแทนแก่ลูกค้าราวๆ 1.75-2.2% (IRR2% ได้รวมค่าใช้จ่ายที่ให้แก่ตัวแทนขายประกันแล้ว) ทำให้บริษัทมี Net interest margin ราวๆ  3% ยิ่งสัญญามีมาเพิ่มเท่าไหร่ก็ยิ่งจะมีกำไรมากขึ้นไปทุกๆปีที่มีการขายประกันเพิ่มและหักลบด้วยสัญญาที่สิ้นสุดลง(ไม่ว่าจะด้วยเหตุการเวนคืนกรมธรรม์หรือลูกค้าเสียชีวิต หรือสิ้นสุดสัญญา90ปีซึ่งอันหลังนี้ค่อนข้างยาก) แต่การลงบัญชีระหว่างหนี้สินและทรัพย์สินต้องทำการ discount ให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน

4.ประเภทออมทรัพย์ระยะสั้น มักจะให้ IRR 2.4 - 2.5% เป็นแบบที่บริษัทขายประกันทำกำไรยากมาก เพราะการให้ผลตอบแทนลูกค้าในระดับ 2.4% น้้นบริษัทจำเป็นที่จะต้องแสวงหาผลกำไรมากกว่านี้ซึ่งทำได้ยังในปัจจุบัน(2560) ดังนั้นบริษัทจะต้องหาผลตอบแทนในระดับ 5% ขึ้นไปเพื่อครอบคุมค่าใช้จ่ายต่างได้แก่ค่า commission ค่าดำเนินการที่เกี่ยงเนื่องกับการรับประกัน ค่าเคลม และค่าดำเนินการส่วนกลาง ในส่วนนี้ BLA มีสัดส่วนเยอะสุด

5.รายได้จากการให้กู้ยืมเงินโดยผู้ถือกรมธรรม์ บริษัทจะได้รับดอกเบี้ยแน่นอนและมีหลักประกันเป็นเงินคงเหลือในกรมธรรม์ของลูกค้า

6.ดอกเบี้ยจากลูกค้าในกรณีที่ลูกค้าชำระเบี้ยมากกว่า 1 งวด/ปี

7.ดอกเบี้ยให้กู้ยืมจากพนักงานของบริษัท

8.การลงทุนในตราสารทุน(หุ้น)ซึ่งเป็นเงินส่วนกำไรสะสมของบริษัท

โดยส่วนใหญ่ผลกำไรเกิดจากสัญญาระยะยาวและเกิดจากทรัพย์สินที่เป็นของลูกค้าที่นำมาฝากไว้กับบริษัทประกันชีวิต การดำเนินงานของบริษัทประกันชีวิตไม่ได้แตกต่างกับธนาคารเลย
ข้อดีกว่าธนาคาร => ไม่มีหนี้เสีย จึงมีกำไรที่แน่นอน, ผลกำไรเติบโตต่อเนื่อง(หากมีเบี้ยรับสุทธิเป็นบวก), ช่องทางจำหน่ายผ่านตัวแทนมีค่าใช้จ่ายที่ยืดหยุ่นหากตัวแทนไม่มีผลงานค่าใช้จ่ายจะลดน้อยลงไป
ข้อด้อยกว่าธนาคาร => การบริหารทรัพย์สินเป็นไปตามข้อกำหนดของรัฐ ไม่อาจจะนำเงินลูกค้าไปลงทุนนอกกฎเกณฑ์ได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วถูกบังคับให้ลงทุนในตราสารภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ทำให้ผลตอบแทนน้อยกว่าธนาคาร

ในสภาวะปัจจุบันดอกเบี้ย(risk free rate เช่น Gov. bond) อยู่ในระดับต่ำมาก ทำให้กรมธรรม์ที่บางบริษัทขายไม่มีกำไรหรือกำไรน้อยมากเกิดความเสี่ยงในแง่การแสวงหาผลกำไรเพื่อมาจ่ายตามสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้า นอกจากนี้กรมธรรม์หลายๆฉบับได้ทำสัญญาไว้เมื่อ 15- 20 ปีก่อนที่มีผลตอบแทน(IRR)ให้ลูกค้าสูงถึง 5%กว่า ทำให้ในปัจจุบันอาจจะทำให้บริษัทกำไรน้อยลงหรือขาดทุนได้(เนื่องจากการชำเบี้ยประกันของลูกค้าเป็นปีละครั้ง แต่สัญญาการตอบแทนเป็นระยะยาว ในปีท้ายๆบริษัทรับเบี้ยเข้ามาแต่ไม่อาจจะไปแสวงหาผลตอบแทนที่ดีได้ ,ตัวอย่างจริง ผมทำประกันเมื่อปี 2546 ได้รับ irr 5.x% ถึงปี 2560 ผมก็ยังจ่ายเบี้ยเป็นรายปีจำนวน 10,000บาท เงินก้อนท้ายๆนี้เองที่บริษัทไม่สามารถนำไปหาผลตอบแทนมากกว่า 5% ได้)
แต่อย่างไรก็ตาม BLA และ AZAY ก็ยังมีผลการดำเนินการที่รับได้โดยเฉพาะ AZAY ที่ทำผลงานได้ดีเนื่องจากมีสัดส่วนประกันออมทรัพย์ระยะสั้นน้อยกว่า BLA มาก

หากดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มสูงขึ้นนับจากนี้สถานะการณ์จะเป็นไปในทางตรงกันข้าม คือสัญญาให้ผลตอบแทนแก่ลูกค้าไว้ต่ำ(สำหรับกรมธรรม์ที่ทำไว้ก่อนนี้ราวๆ 6ปี) แต่บริษัทจะแสวงหาผลตอบแทนได้มากขึ้น ด้วยสัดส่วนระหว่างสินทรัพย์และหนี้สินตามสัญญาระยะยาวมีสัดส่วนที่สูงมาก ทำให้ผลกำไรนั้นมีความอ่อนไหวกับดอกเบี้ยมาก

ในส่วนของ AYUD เป็น holding company ถือหุ้นใน
SAGI 100% มีมูลค่าทางบัญชี  1824 ล้านบาท
AZAY 20.17% มีมูลค่าทางบัญชี 2819 ล้านบาท โดยมากจะเน้นการคุ้มครองและสัญญาระยะยาว
และเงินลงทุนราวๆ 2092 ล้านบาท
รวมมูลค่าทางบัญชีได้ 6,735 ล้านบาท(ยังไม่รวมทรัพย์สินอื่นตามบัญชี) ในขณะที่ market cap. อยู่ที่ 30.25*250 = 7562 ล้านบาท
ถือว่าเป็นหุ้นที่น่าสนใจมาก หากดอกเบี้ยไม่ขึ้นก็เท่ากับว่าผลประกอบการจะเติบโตอย่างช้าๆจาก AZAY เป็นหลัก และเงินปันผลที่คาดว่าจะได้รับราวๆ 5% หรือ 6.25% ก่อนภาษี และโอกาสจะเสียหายมีน้อยมาก แต่ถ้าดอกเบี้ยขยับขึ้นมาก็จะทำให้ AZAY มีกำไรเพิ่มขึ้นเยอะสุดแต่อาจจะยังไม่เห็นผลทันทีภายหลังจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย รวมถึง SAGI ที่เป็นบริษัทประกันภัยที่มีการบริหารเงินทุนระยะสั้น(เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับสัญญาประกันภัยที่เป็นแบบ ปีต่อปี)
ส่วน BLA จะสามารถกลับรายการสำรอง LAT( Liability adequacy test) ที่ถูกเพิ่มเป็นจำนวนมากในปี 2559-2560 และยังจะรับรู้รายได้จากผลต่างระหว่าง ROI และมูลค่าตอบแทนให้แก่ลูกค้า




Monday, October 9, 2017

เป้าหมายคือ ได้ผลตอบแทนดีในระยะยาว


ตั้งแต่ลงทุนมาจากปี 2547(ปลายธค.2546) สิ่งที่ผมอยากได้จากการลงทุนคือ การมีผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอในระยะยาว โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 18% ตลอดเวลา 20 ปี
ผ่านไปถึงวันนี้ก็ 14 ปีแล้ว สิ่งที่วางแผนก็เป็นไปเป้าหมายที่วางไว้ แต่ผมก็ไม่มีข้อมูลอะไรที่จะเปรียบเทียบผลตอบแทนที่ว่าได้
ในปี 2014 ทางโบรกเกอร์บัวหลวง(BLS) ได้ทำมีเครื่องมือการวัดผลตอบแทนซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับกองทุนที่แสดงค่า NAV ทำให้นับแต่วันนั้นผมก็มีตัวเปรียบเทียบกับกองทุน

พอร์ตแรก
ได้รับผลตอบแทนตั้งแต่ 2014- 6 Oct 2017 เป็นจำนวน 162.33% เป็นตัวเลขที่เอาชนะกองทุนทุกประเภทในประเทศไทย

ในขณะที่ผลตอบแทนในช่วง 1 Jan 2017 - 6 Oct 2017 ทำได้ 30.4% ตัวเลขนี้แพ้กองทุนในประเทศของกรุงศรีที่ทำผลงานได้ถึง 33.3% ส่วนของบลจ.อื่นๆทำได้น้อยกว่า30% และแพ้กองทุนต่างประเทศที่ปีนี้ทำได้ดีมากโดยส่วนใหญ่มีหลายๆกองที่มีผลตอบแทนเกิน 30%


ตารางผลตอบแทนกองทุนที่มีผลตอบแทนเกิน 30% จากต้นปี 2017 ถึง October 2017 ข้อมูลจาก Morningstarthailand.com
พอร์ตที่2

ผลตอบแทนในช่วง 1 Jan 2017 - 6 Oct 2017 ทำได้ 30.87% และผลตอบแทนตั้งแต่ 2014- 6 Oct 2017 เป็นจำนวน 163.32% ถือว่าใกล้เคียงกับพอร์ตที่1 มาก

พอร์ตที่3
ผลตอบแทนตั้งแต่ 2014- 6 Oct 2017 เป็นจำนวน 129.57% น้อยกว่า พอร์ตที่1และ2 ราวๆ 30% มีเหตุผล2ประการที่ทำให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน
1.เพราะการเพิ่มเงินลงทุนที่เป็นเงินสดระหว่างปี (สีแดงของกราฟแท่งด้านล่างสุดแสดงมูลค่าเงินสดคิดเป็น% และสีฟ้าของกราฟแท่งแสดงมูลค่าหุ้นที่ถือครอง) และเป็นจำนวนถึง 20% ของพอร์ตและไม่ได้นำไปซื้อหุ้นเพิ่มทำให้เมื่อหุ้นในพอร์ตมีราคาเพิ่มสูงขึ้นผลตอบแทนจึงไม่ได้เพิ่มตามมานัก
2.มีการถือครองเงินสดในจำนวนที่เยอะเกินความจำเป็น
ถ้าจะเปรียบเทียบพอร์ตนี้คงเทียบได้กับกองทุน 70/30 ที่ลงหุ้น 80% ส่วน 20% ลงทุนในตราสารหนี้

พอร์ตที่4

ผลตอบแทนตั้งแต่ 2014- 6 Oct 2017 เป็นจำนวน 153.46 % ถือว่าภาพรวมทำได้น้อย แต่ถ้าดูในรายละเอียดพอร์ตนี้มีผลตอบแทนดีที่สุดที่ทุกพอร์ตการลงทุน เพราะถือครองเงินสด(ซึ่งมีผลตอบแทนต่ำแค่าราวๆ 1%) เป็นจำนวนมากเกือบตลอดเวลา และในช่วงมีนาคมของปีนี้หุ้นส่วนใหญ่ได้ถูกย้ายไปที่โบรกเกอร์ SBITO ที่มีค่านายหน้าต่ำกว่าบัวหลวงครึ่งหนึ่ง ทำให้พอร์ตนี้ไม่ได้มีการเก็บสถิติแล้ว
แต่ผมจะเริ่มเก็บนับตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นไปในรูปแบบ EXCEL

เครื่องมือที่ใช้ในการลงทุน

1.หนังสือเพื่อชี้แนะการลงทุน ได้แก่หนังสือที่เขียนถึงหลักการลงทุนของ warren buffet เช่น buffetology, หนังสือของ Phillip A fisher หุ้นสามัญกำไรไม่สามัญ, หนังสือของ Peter Lynch กาลครั้งหนึ่ง ณ วอลสตรีต และอีกหลายเล่ม
โดยส่วนตัวของผมอ่านไปไม่น่าจะน้อยกว่า 20 เล่ม






2.รายงานประจำปี/รายงานผลประกอบการรายไตรมาส/แบบ F56-1 หาเรารู้แค่หลักการการลงทุนก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่รู้หลักการที่ทำให้เรียนดีแต่ไม่รู้วิธีการว่าจะทำอย่างไรกับมันให้ได้ผลที่ดี รายงานประจำปี/รายงานผลประกอบการ/แบบ F56-1 (ผมขอเรียกว่ารายงานการดำเนินงาน) จะบอกถึงโอกาสและปัญหา ตัวเลขตัวหนังสือจะแสดงถึงทั้งอดีตที่ผ่านไปแล้ว และอนาคตที่มีบางอย่างที่เกือบแน่นอนและไม่แน่นอน รวมถึงการแสดงความเห็นของฝ่ายบริหารเพื่อให้เราเห็นว่าระหว่างบริษัทหนึ่งกับอีกบริษัทหนึ่งที่อยู่ในอุตสหกรรมเดียวกันมองอะไรที่แตกต่างกัน หรือเป็นการแก้ตัวในข้อผิดพลาดของฝ่ายบริหาร และจงอย่าเชื่อข้อความที่สวยหรูของฝ่ายบริหาร จงดูผลของการกระทำที่ผ่านมาว่าดูดีแค่ไหน
(คำแนะนำควรอ่านปีละไม่น้อยกว่า 100 บริษัท)
3.นำงบการเงินมาทำเป็นตัวเลขติดต่อกันหลายๆปี หรือหลายๆไตรมาส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรายได้ กำไร ค่าใช้จ่าย กระแสเงินสด
ต่อไปนี้คือตัวอย่างของกราฟการผลประกอบการ หากบริษัททำดีมาตลอดโอกาสทำดีในอนาคตย่อมมีโอกาสสูง อย่างไรก็ตามควรดูคุณภาพของกิจการผ่านข้อ2 ด้วย









3.การติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตของสังคม การเปลี่ยนแปลงทำให้เราได้พบหุ้นที่มีการเติบโตของรายได้และกำไรทั้งๆที่ GDP ของโลกก็โตแค่ 3% แต่กลับมีหุ้นบางตัวเติบโตสูง นั้นเป็นเพราะการแทนที่ของล้าสมัยด้วยของที่ทันสมัย ของที่ล้าสมัยต่อให้งบการเงินดูดีสุดท้ายมันก็ล่มสลาย

4.ถ้าเป็นคนไม่สร้างหนี้กลัวการมีหนี้ก็เลือกหุ้นที่ฐานะการเงินดีและธุรกิจยังโตได้ จะปลอดภัยที่สุดไม่ว่าดอกเบี้ยขาขึ้นหรือขาลง

Tuesday, October 3, 2017

กรณีศึกษา 90/90 VS 90/20

กรณีศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงแง่คิดต่างๆของประกันชีวิต ว่าควรเลือกแบบใดจึงให้ผลตอบแทนดีที่สุด


ผมขอยกตัวอย่างของผมเอง
1.อาชีพชั้นที่ 1
2.อายุ 42 ปี
3.เปรียบเทียบผลตอบแทนเมื่อถึง 20 ปี
4.ทำประกันแบบ 90/90 กับ 90/20 อะไรดีกว่ากัน

>> แบบA 90/90 + term 19 ปี + CIYRT

ทุกประกันหลัก 200,000 บาท ชำระเบี้ย 2,440x2 = 4,880 บาทต่อปี
term19 ปี ทุน 500,000 บาท ชำระเบี้ย 962x5 = 4,810 บาท/ปี
CIYRT ทุน 500,000 บาท ชำระเบี้ย 4,655 บาท/ปี

รวม 14,345 บาทต่อปี
ผลประโยชน์ที่จะได้รับ
ตายทุกรณี 1.2 ล้านบาท
เป็นโรครายแรงแต่ยังไม่ตาย 0.5 ล้านบาท


>> แบบB 90/20 + term 19 ปี + CIYRT

ทุกประกันหลัก 200,000 บาท ชำระเบี้ย 3,190x2 = 6,380 บาทต่อปี
term19 ปี ทุน 500,000 บาท ชำระเบี้ย 962x5 = 4,810 บาท/ปี
CIYRT ทุน 500,000 บาท ชำระเบี้ย 4,655 บาท/ปี

รวม 15,845 บาทต่อปี
ผลประโยชน์ที่จะได้รับ
ตายทุกรณี 1.2 ล้านบาท
เป็นโรครายแรงแต่ยังไม่ตาย 0.5 ล้านบาท
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

*** เพื่อให้เปรียบเทียบกันง่ายๆ ขอเทียบเฉพาะเบี้ยของประกันหลักต่อ1แสน และจะไม่ประเมินอนุสัญญาเพราะเป็นเบี้ยปีต่อปีไม่มีการสะสมของเงิน ***


ทั้งสองแบบมีความคุ้มครองเท่ากัน แต่ต่างกันที่เบี้ยประกันหลัก ต่างกันอยู่ที่ 1500 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 750 บาทต่อความคุ้มครอง 1 แสนต่อปี

ในปีที่ 20 ของกรมธรรม์หากผมจะเวนคืนกรรมธรรม์ ผมจะได้เงินดังนี้

แบบA เวนคืนได้ 35,000 บาท (จ่ายมา 20 ปีรวมเป็นเงิน 2,440x20 = 48,800 บาท ขาดทุน -13,800 บาท)
แบบB เวนคืนได้ 56,200 บาท (จ่ายมา 20 ปีรวมเป็นเงิน 3,190x20 = 63,800 บาท ขาดทุน -7,600 บาท)


แต่ข้อแต่ต่างระหว่าง 2 กรมธรรม์คืนเงินส่วนเกิน 750 บาท ผมจะไปทำประโยชน์ดังนี้

ข้อสรุปที่1. หากตัวผมเลือก 90/90 ผมจะมีเงินเหลือปีละ 750 บาท ผมจะนำเงินนี้ไปทำการซื้อกองทุนและมันก็ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 4%   (ดูตารางการคำนวณผลตอบแทนทบต้นท้ายบทความ)
ในแบบ 90/90 ผมจะมีกำไรในปีที่ 20 อยู่ที่ 9,427 บาท ในขณะที่ 90/20 ขาดทุน -7,600 บาท




ข้อสรุปที่2. หากตัวผมเลือก 90/90 ผมจะมีเงินเหลือปีละ 750 บาท ผมจะนำเงินนี้ไปทำการฝากประจำและมันก็ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 1.8%   (ดูตารางการคำนวณผลตอบแทนทบต้นท้ายบทความ)
ในแบบ 90/90 ผมจะมีกำไรในปีที่ 20 อยู่ที่ 2,262 บาท ในขณะที่ 90/20 ขาดทุน -7,600 บาท


















และผมจะลองคำนวณการเวนคืนกรมธรรม์ในปีที่ 30 ซึ่งในขณะนั้นผมคงไม่ต้องการคุ้มครองอะไรแล้วครับ อายุปาเข้าไป 72 ปี
โดยที่ 90/90 ต้องส่งเบี้ยเป็นเวลา 30 ปี ในขณะที่ 90/20 ส่งเบี้ย 20 ปี ทำให้เกิดข้อสรุปที่3และ4

ข้อสรุปที่3. นำเงินส่วนเกิน 750 บาท แบบ90/90 จะมีกำไร 16,081 บาท ส่วนแบบ90/20 จะมีกำไรเช่นกันที่ 5,800 บาท

















ข้อสรุปที่4. แบบ90/90 จะมีกำไร 3,438 บาท ส่วนแบบ90/20 จะมีกำไรเช่นกันที่ 5,800 บาท ซึ่งเป็นแบบที่ 90/20 ดีกว่า 90/90 นั้นแสดงว่าแบบ90/20 ในระยะยาวให้ผลตอบแทนดีกว่า 1.8% ต่อปี ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่ไม่สามารถนำเงินส่วนเกินไปทำประโยชน์ได้มากกว่า 1.8% ต่อปี
















แต่ถ้าจะมองเรื่องผลตอบแทนกันจริงๆ เราควรต้องเข้าใจเป็นอย่างดีว่าเงินที่เราส่งเบี้ยไปทุกๆปีสำหรับส่วนของประกันหลักจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ก้อนได้แก่ 1.นำไปเป็นเบี้ยประกันชีวิตจริงๆคล้ายๆกันเบี้ยแบบ TERM ที่ส่งปีต่อปีแต่มีสัญญาระยะยาว 2.เงินออมทรัพย์และจะถูกนำไปคำนวณเป็นเงินคืนไม่ว่าจะคืนเมื่อครบสัญญาหรือคืนก่อนกำหนด(เวนคืนกรมธรรม์)

การเลือกทำประกันแบบใดก็คงขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคน ความต้องการของแต่ละคนคงไม่เหมือนกัน แต่ถ้ามั่นใจว่าจะจัดการเงินได้ผลตอบแทนดีๆเช่นในตัวอย่างคืน 4% ก็ให้เลิือกแบบ 90/90
แต่ถ้ามองระยะยาวมากคือถือกรมธรรม์ไปจนอายุครบ 90 ปี 90/20 ก็เป็นตัวเลือกที่ดีหากคุณไม่สามารถหาผลตอบแทนที่ดีกว่า 2.75 ต่อปี




ตารางเงินสะสมจากการลงทุนซื้อกองทุนผลตอบแทนเฉลี่ย 4% ต่อปี โดยหยุดเพิ่มเงินในปีที่ 20



ตารางเงินสะสมจากการฝากเงินผลตอบแทนเฉลี่ย 1.8% ต่อปี โดยหยุดเพิ่มเงินในปีที่ 20



วรินทร์ จิรเจษฎา
จันทร์เพ็ญ เทียมชัยภูมิ



Friday, September 29, 2017

การนำภาพจาก google drive ไปไว้ใน web

1.ทำการ upload ภาพขึ้น folder
2.ทำการ share ไปยัง public
3.copy ส่วนที่เป็นรหัสภาพตามรูป


4.To create your image URL, use "http://drive.google.com/uc?export=view&id=FILEID", but change FILEID to the string of characters you just copied.

ที่มาตาม link นี้

https://confluence.biola.edu/display/itservices/How+to+Embed+Images+from+Google+Drive+in+a+Web+Page


Tuesday, September 26, 2017

ตัวอย่างการจัดพอร์ตการลงทุน

สมมติกรณีสำหรับคนที่อายุ 35 ปี
- มีลูก 1 คนอายุ 4 ขวบ มีภรรยา 1 คน อายุ 32 ปี

- มีเงินเก็บปัจจุบัน 50,000 บาท อยู่ในธนาคาร

- ครอบครัวสามารถเก็บเงินได้ 5,000 บาทต่อเดือน

-ทำงานเอกชน หรือค้าขาย สามารถเพิ่มเงินออมได้ 1,000 บาทต่อเดือน ทุกๆ 4 ปี

ควรวางเป้าหมายอย่างไร?

เป้าหมาย
>> เกษียณที่อายุ 60 ปีทั้งคู่  (ทั้งสองคนมีอายุงานเหลืออีก 25 ปี และ 28 ปีตามลำดับ)
>> เนื่องจากมีเงินเก็บไม่มาก ณ วันนี้ จึงวางเป้าหมายไว้ปานกลางจะมีเงินในวัย 60 ปีรวม 4 ล้านบาท
>> อีก 15 ปีลูกจะเข้ามหาวิทยาลัย (เข้ามหาวิทยาลัยอายุ 19 ปี จบ 24 ปี)
>> ช่วงลูกเข้ามหาวิทยาลัยลดเงินเก็บลง 5,000 บาทต่อเดือน เพื่อนำเงินส่งลูกเพิ่มเติม


จากตารางด้านบนจะพบว่า หากผลตอบแทนรวมของครอบครัวนี้เป็น 6% ต่อปีพวกเขาจะมีเงินในวัยที่สามี 60 ปีที่ 4.6 ล้านบาท โดยสังเกตว่าเงินเก็บจะเพิ่ม 1,000 บาทต่อเดือนทุกๆ 4 ปีและในช่วงลูกเข้ามหาวิทยาลัยเงินเก็บจะลดลง 5,000 บาท พวกเขาถึงเป้าหมาย

มีคำถามว่า
>> พวกเขาจะทำอย่างไรถึงจะได้ผลตอบแทน 6% ต่อปีติดต่อกันไปจนอายุ 60 ปี
>> พวกเขามั่นใจได้อย่างไรว่าหากใครคนใด เสียชีวิต พิการ ก่อนกำหนด แผนที่วางไว้จะต้องเสียหาย รวมถึงอนาคตของลูกที่อาจจะไม่แน่นอนด้วย

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดสรรสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม
วิธีทำ
ลงทุนในกองทุน 65% (ให้ผลตอบแทนระยะยาว 6%)+ ประกันออมทรัพย์ชนิดที่มี IRR เกิน 2% และ ประกันเบี้ยราคาถูก(แบบ term  อุบัติเหตุ โรคร้ายแรง ไม่มีเงินคืน) 15% + หุ้น 20% (ให้ผลตอบแทน 10%)
ผลตอบแทนเฉลี่ยที่ได้รับ = 65*.06 + 20*0.01 + 15*0.10 = 5.60 %
เหตุผลที่ต้องจัดสรร
>> หาท่านจะเก็บเงินในธนาคาร ผลตอบแทนดีที่สุดคือ 1.5 -2.0 % ต่อปี ถือว่าน้อยมาก ในขณะที่เงินเก็บมีจำนวนน้อยเกินไป
>> ประกันชีวติ มีผลตอบแทนน้อยเช่นเดียวกัน ในระยะยาวก็สูงกว่าการฝากธนาคาร (มีข้อควรระวัง)
>> การเลือกลงทุนในกองทุนที่เหมาะสมควรได้ผลตอบแทนราวๆ 6% ต่อปี
>> การเลือกทำประกันก็เพื่อประกันว่าหากคนใดคนหนึ่งจากไปหรืออยู่ในสภาพที่ไม่สามารถทำงานได้ด้วยโรคภัยหรืออุบัติเหตุ ครอบครัวก็ยังมีเงินก้อนจากประกันมาช่วยเหลือ แต่ถ้าไม่มีใครเป็นอะไร ยังไงเป้าหมายที่วางไว้ก็สำเร็จ อย่าเสียดายเงินก็เล็กที่จะรักษาเป้าหมายที่ใหญ่กว่า
>> ลงทุนในหุ้น เนื่องจากหุ้นเป็นเรื่องของการศึกษาธุรกิจหากท่านมีความรู้ความสามารถเพียงพอ ก็จะทำให้เป้าหมายของครอบครัวดีกว่าเดิมได้เพราะในระยะยาวแล้ว การลงทุนในหุ้นสำหรับคนที่ประสบความสำเร็จจะได้ผลตอบแทนเกิน 10% และท่านสามารถโยกเงินจากการออมในกองทุนไปยังหุ้นในสัดส่วนที่มากขึ้น ทำให้ผลตอบแทนโดยรวมเพิ่มสูงขึ้นไปอีก แต่บางคนอาจจะแย้งว่าถ้าล้มเหลวก็จะทำให้เสียเวลาในการออมและเสียหายได้ แต่จากประสบการณ์จะบอกตรงๆว่า ภายใน 4 ปีหากคุณไม่ประสบผลสำเร็จจากการลงทุนในหุ้นคุณก็ไม่จำเป็นต้องลงทุนในหุ้นอีกในปีที่เหลือเพราะคุณไม่เหมาะที่จะศึกษาหาความรู้ในการลงทุนด้านนี้จึงทำให้จำกัดการเสียหายแค่เงิน 4 ปีแรกซึ่งเป็นเงินไม่มากนัก  แต่ถ้าประสบผลสำเร็จอาจจะให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้นได้

*** กองทุนนั้นง่ายกว่าหุ้นมากและเราจะแนะนำวิธีการลงทุนในกองทุนในครั้งต่อไป(แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จ เหมือนกับครูคนเดียวกันสอนนักเรียนทั้งห้อง นักเรียนที่ประสบความสำเร็จคือคนที่เอาใจใส่และหาความรู้เพิ่มเติมอย่างเสม่ำเสมอ)

ต่อมาให้เราแก้ไขข้อมูลในตารางจากผลตอบแทน 6% เป็น 5.6% ตามที่ได้คำนวณจากการจัดสรร
โดยตาราง (สามารถแก้ไขได้ตามไฟล์ที่แนบมาที่ท้ายบทความ)
ถึงแม้ว่าผลตอบแทนจะเหลือ 5.6% ต่อปี ก็ยังทำให้เงินของครอบครัว(ในวันสามีมีอายุ 60 ปี )มีจำนวน 4.35 ล้านบาท แต่ถ้ามีเหตุการร้ายเข้ามาในชีวิตประกันที่ทำไว้ก็จะทำงานซึ่งอาจจะไม่ได้เพียงพอหรือเป็นไปตามเป้าหมายแต่ประกันจะทำให้ทุกอย่างรู้สึกผ่อนคลาย

ในตารางมีปีที่ส่งประกันลดลงซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องนักแต่ให้ถือว่าถั่วเฉลี่ยความคุ้มครองในปีถัดๆไป

หลักการในการทำประกันชีวิตได้แก่
1.หากอายุยังน้อยเงินเก็บยังไม่มาก ให้ทำประกันอุบัติเหตุสูงๆ + term ที่มีเบี้ยชำระไม่แพงเมื่อเทียบกับความคุ้มครอง + 90/20 ที่สามารถเลือกอนุสัญญาเพิ่มเติมได้

2.เพิ่มสัญญาประกันไปตามอายุและรายได้ ให้ทำเช่นเดิม ประกันอุบัติเหตุ + term + แบบประกันที่มีราคาไม่แพง 90/20 พวงด้วยอนุสัญญาตามฐานะการเงินของผู้ทำประกัน มีเงินมากก็คุ้มครองสุขภาพรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน แต่ถ้าเงินไม่มากก็เลือกเข้าโรงพยาบาลรัฐใช้ประกันสังคมหรือบัตรทองก็ได้โรงพยาบาลรัฐหลายๆแห่งก็มีคุณภาพที่ดีมากเช่นกัน

3.หากจะเลือกการออมผ่านประกันชีวิต ควรเลือกแบบที่มีผลตอบแทนสูง ในปัจจุบันแบบที่มีผลตอบแทนสูงมี IRR ราวๆ 2.7% และหากรวมผลประโยชน์ในการนำไปลดหย่อนภาษีก็จะทำให้มีผลตอบแทนที่ดีขึ้น
หากฐานภาษีอยู่ที่ 10% ก็จะทำให้ IRR เพิ่มเป็น 3.71%

ไฟล์แนบวิธีการคำนวณผลตอบแทน คลิกที่นี่ และให้ทำการเพิ่มไปใน google drive ของตนเอง หรือจะ download เป็น excel มาไว้ในเครื่องก็ได้ เพราะถ้าไม่ทำตามนี้ก็จะแก้ไขตัวเลขไม่ได้

 >> การศึกษาหาความรู้ในการงานและการลงทุนทุกๆวันจะทำให้เรารักษาทั้งหน้าที่การงานและแผนการออมในอนาคตไว้ได้ และใช้ชีวิตไม่ประมาท <<


Wednesday, September 20, 2017

การวางแผนการเงินระยะยาวและการป้องกันความเสี่ยง

เนื้อหานี้จะชี้ให้เห็นผลตอบแทนที่คนทั่วไปสามารถเลือกที่จะทำได้ และนำมันไปใช้ในการวางแผนทางการเงิน โดยสมมติผลตอบแทนจาก การฝากเงิน ประกันที่ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด และกองทุน และชี้ให้เห็นว่าการลงทุนแต่เนินๆจะใช้เงินไม่มาก หากวางแผนช้าอาจจะมีเงินไม่พอใช้ในอนาคต

หากผู้ที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่ๆ บางทีก็ไม่ใช่จังหวะที่เหมาะสมในการวางแผนการเงินเท่าไหร่ เนื่องจากการเริ่มต้นการทำงานใหม่เงินเดือนน้อย ค่าใช้จ่ายมาก

อย่างไรก็ตามหาคุณเริ่มต้นเก็บออมเร็วคุณก็จะมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้นและเร็วขึ้น
สมมติว่าคุณเก็บเงินเริ่มต้นด้วยเงิน 1,000 บาทต่อเดือนหรือปีละ 12,000 บาท ในวันเริ่มทำงานด้วยอายุ 22 ปี
หากคุณฝากธนาคารด้วยผลตอบแทนเฉลี่ย 1.8 %(เลือกเงินฝากพิเศษ และเงินฝากประจำ 2 ปี)
จากตารางเงินที่เก็บไว้ในธนาคารจำนวน 1,000 บาท ทุกเดือน จะเป็น 544,070 บาท ในวันที่คุณอายุ 55 ปี ซึ่งไม่เพียงพอที่จะดำรงชีพอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามเราก็สามารถเพิ่มเงินออมไปตามความก้าวหน้าในอาชีพการงานได้

"หากเก็บเงิน 2,000 บาทต่อเดือนก็ให้เอา 2 คูณผลตอบแทน"



หากหันไปลงทุนด้วยการออมผ่านประกันชีวิตซึ่งต้องเลือกให้ดีเพราะตัวแทนมักจะไม่พูดถึงประเด็นนี้เท่าไหร่ ผลตอบแทนที่ได้ก็ดูงงๆ ตัวแทนส่วนใหญ่ไม่ได้คำนวณว่าผลตอบแทนจริงๆแล้วเมื่อคิดเป็นดอกเบี้ยร้อยละอยู่ที่เท่าไหร่ จากที่เคยวิเคราะห์มาหลายแบบ มีหลายแบบที่ผู้ทำประกันเมื่อมีอายุครบ 60 ปี ไม่มีผลตอบแทนเลย หรือได้ดอกเบี้ย 0% ต่อปี แต่ตัวแทนจะพูดถึงเงินคืนคืดเป็นร้อยละเท่าไหร่ของเงินเอาประกัน ไม่ใช่เงินที่เราส่งไป ขอให้ระวังไว้ให้มาก 

อย่างไรก็ตามมีบางแบบที่ให้ผลตอบแทนที่ราวๆ 2.4% ต่อปี ดีกว่าเงินฝาก ดังนั้นจะทำตารางเปลี่ยนจากดอกเบี้ยร้อยละ 1.8% ต่อปีเป็น 2.4%
ผลที่ได้คือจะมีเงินเพิ่มขึ้นอีก 5หมื่นกว่าบาท นั้นก็ดีกว่าการฝากเงินทั่วๆไปแต่ก็ยังไม่เพียงพอในการใช้ในชีวิตประจำวันในวัยเกษียณ

แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ประกันทำได้ดีกว่าคือ หากเราตาย ประกันก็มีเงินให้คนข้างหลังที่ต้องพึ่งพารายได้จากเรา ไม่มีใครรับประกันได้ว่าคุณจะอยู่ถึงวันพรุ่งนี้ ประกันชีวิตมีหลักการคือ

1.หากคุณทำงานไม่ได้เจ็บป่วยและแย่สุดคือพิการ ใครจะจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูคุณและครอบครัวของคุณ
2.ดีขึ้นมาหน่อยคือหากคุณตาย ใครจะเลี้ยงดูครอบครัวคุณ
3.หากคุณตายหรือทำงานไม่ได้ แล้วธุรกิจของคุณใครจะดูแลต่อได้ บางครั้งธุรกิจของคุณนั้นใครก็ทำแทนไม่ได้ หรือทายาทของคุณยังอายุน้อยเกินไปที่จะรับไม้ต่อจากคุณ หรือทายาทของคุณไม่มีแววที่จะทำงานแทนคุณได้
4.ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตทำงาน หากคุณเป็นโรคร้ายแรง เงินที่เก็บมาอาจจะหมดไปกับการรักษาตัว ถ้ารักษาจนหายแต่ไม่มีเงินเหลือ คุณจะทำอย่างไร และเลวร้ายที่สุดคือคุณมีเงินไม่พอรักษาตัว


ถ้าคุณมั่นใจว่าคุณจะอยู่ถึง 60 ปี อย่างแข็งแรงก็ไม่มีอะไรที่จะต้องไปทำประกันชีวิต แต่คุณก็สามารถเลือกที่จะทำประกันแบบออมทรัพย์ได้(ซึ่งให้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝาก)หากคุณไม่ชำนาญเรื่องการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือจะทำประกันออมทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตโพลิโอการลงทุน ดังนั้นการทำประกันชีวิตจึงไม่ใช่การลงทุนหรือฝากเงินเพื่อให้ได้ดอกเบี้ย
จะเห็นว่าแบบประกันที่ผลตอบแทนไม่ดีมักจะให้ความคุ้มครองที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับแบบประกันที่เน้นออมทรัพย์ มาถึงตรงนี้คุณคงพอนึกออกว่าการทำประกันที่ได้ผลตอบแทนต่ำมากนั้นไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีเสมอไปเพราะเงินบางส่วนที่เราจ่ายบริษัทประกันชีวิตทุกๆปีเขาจะแยกเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่1 นำไปใช้ในการประกันชีวิต ส่วนที่สองเป็นเงินเก็บให้ผู้ถือกรมธรรม์ ในส่วนที่1นั้นแทบทุกแบบจะมีมูลค่าเท่ากัน(คือผู้ซื้อประกันชีวิตจ่ายเท่าๆกันกับแบบอื่น) แต่ส่วนที่สองนั้นไม่เท่ากัน ถ้าความคุ้มครองที่ 1แสนเท่ากัน แบบที่ส่งเงินมากก็จะให้ผลตอบแทน(ที่เทียบเท่าเงินฝาก)ดีกว่าแบบที่ส่งเงินน้อยๆ 
>> หากมีเงินน้อยๆก็ควรทำประกันแบบเงินน้อยคุ้มครองมาก (ค่าเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับอายุแต่ไม่เกิน 1,000 บาทต่อปีต่อการคุ้มครอง 1แสนบาท สำหรับผู้ชายอายุไม่เกิน 44 ปี)
>> หากเน้นออมเงินไปด้วยก็ให้ซื้อแบบออมทรัพย์ หรือจะซื้อผสมๆกันก็ได้ตามแต่ที่เราจะออกแบบ


ลองทำตารางผลตอบแทนอีกแบบคือ แบบที่คุณเพิ่มเงินออมทุกๆ 5 ปี จากเดือนละ 1,000 บาท ก็เพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 500 บาท เมื่อคุณทำงานครบทุกๆ 5 ปี
อย่างไรก็ตามคุณก็ควรมีเงินในบัญชีออมทรัพย์เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินเพราะการออมระยะยาวหรือซื้อประกันหากคุณจะเอาเงินออกมาก่อนครบกำหนดคุณจะเสียผลตอบแทนไปบางส่วน



การเก็บเงินตามตารางนี้ในวันที่คุณอายุ 55 ปี คุณจะมีเงิน 1,336,038 บาท

จะเห็นว่าทั้ง 3 กรณีคุณมีเวลาเก็บเงินถึง 33 ปี แต่คุณก็มีเงินไม่พอที่จะใช้ในวัยเกษียณทั้ง2กรณี นั้นเป็นเพราะ 
1. คุณเก็บเงินต่อเดือนน้อยเกินไป
2. คุณได้รับผลตอบแทนน้อยเกินไป
3. เวลาที่คุณเก็บเงินไม่สัมพันธ์กับจำนวนที่คุณเก็บเงิน หากคุณเก็บเงินไม่มากคุณก็ควรทำงานยาวกว่านี้
หากเก็บเงินช้าเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น คุณอาจจะต้องเพิ่มเงินเก็บเข้าไปอีก และรวมถึงต้องได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า 
แต่ถ้าคุณเป็นอะไรก่อน ทำให้คุณทำงานไม่ได้ นั้นจะทำให้คุณหมดโอกาสที่จะดูแล้วครอบครัวและตัวคุณเองได้อย่างแน่นอน

สิ่งสำคัญคือ หาความรู้ด้านการเงินและการลงทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย

::::: ควรมีเงินเท่าไหร่ในวัยเกษียณ? :::::


มันขึ้นอยู่กับว่าคุณจะใช้เงินเท่าไหร่ในการดำรงชีพในวันนั้น ค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ท่องเที่ยว/เดินทาง สังสรรค์ อื่นๆ

::::: ทางเลือกที่ดีกว่าการฝากเงินหรือการทำประกัน :::::

จากประสบการณ์การลงทุนของผู้เขียนที่ผ่านมาเกือบ 15 ปี การลงทุนในหุ้นคือทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งโดยส่วนตัวได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีเกิน 20% ต่อปี แต่ทางเลือกนี้เหมาะสมสำหรับบางคนและไม่เหมาะสมสำหรับบางคน 
สมมติว่าหากเราได้รับผลตอบแทน 20% ต่อปี โดยเที่ลงทุน 1,000 บาทต่อเดือน ผลตอบแทนจะเป็นเท่าไหร่?
||| อีกกรณี หากเพิ่มเงินลงทุนไปตามอายุงาน |||


หากลงเงินคงที่ 1,000 บาทต่อเดือน จะมีเงิน 29.46 ล้านบาท
หากลงเงินเพิ่มทุกๆ 5 ปี(เพิ่ม 500 บาทต่อเดือน)จะมีเงิน 39.13 ล้านบาท
ทั้งสองกรณี คุณมีเงินเพียงพอที่จะใช้ไปจนตาย
แต่น้อยคนนักที่จะรักษาผลตอบแทนระดับ 20% ต่อปีในระยะยาวนาน ถ้าคุณได้ผลตอบแทนเพียง 12.5% คุณก็มีเงินใช้เพียงพอไปตลอดชีวิตแล้วครับ
แม้ว่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีไม่ว่าจะ 12.5% หรือ 20% ต่อปี หากเกิดสิ่งที่ไม่คาดฝัน คุณก็จะเก็บเงินไม่ได้ตามที่ต้องการ และหากคุณมีภาระที่จะต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวหรือบุพการี คุณจำเป็นต้องซื้อประกันความเสี่ยงเพื่อที่จะทำให้คนที่อยู่ข้างหลังของคุณมีหลักประกันที่แน่นอนเหมือนกับว่าคุณได้ดูแลเขาตลอดไป

การศึกษาหุ้นนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทั้งใจ กาย และความรู้รอบด้าน แต่สำคัญคือรู้จักตัวเองว่าตนเองเข้าใจอะไร ไม่เข้าใจอะไร ข้อดีของการลงทุนในหุ้นคือ เป็นเจ้าของกิจการที่มีผู้บริหารคอยทำงานให้และจะมีเวลามากเพียงพอจนคุณรู้สึกว่าวันๆจะทำอะไรดี

หรือ

คุณสามารถเลือกที่จะลงทุนในกองทุน รายละเอียดพื้นฐานผลตอบแทนกองทุนดูที่นี่ >> กองทุน <<


ทางเลือกที่ช่วงหลังบริษัทประกันมักจะหยิบยกมาเสนอให้กับลูกค้าคือ Unit Link 

Unit Link คืออะไร มันก็การทำประกันแบบ Term รวมกันกับการซื้อกองทุน

ดังนั้นมันจะทำงานสองหน้าที่คือ 1.ประกันชีวิต 2.ออมเงินผ่านตลาดหลักทรัพย์ผ่านกองทุน

แต่จะชี้ประเด็นว่า การลงทุนผ่าน Unit Link นั้นเป็นการลงทุนที่เสียเปรียบโดยไม่จำเป็นเลยทีเดียว เพราะเหตุใดคุณจึงมีความจำที่ต้องซื้อกองทุนผ่านบริษัทประกันชีวิตในเมื่อ

1. คุณซื้อประกัน ส่วนเงินที่เหลือคุณก็ไปซื้อกองทุนเอง
2. คุณซื้อกองทุน Unit Link ผ่านประกันชีวิต คุณจะเสียค่าธรรมเนียมหลายต่อ ได้แก่ เสียให้ตัวแทน เสียให้บริษัทประกันชีวิต เสียให้กับผุ้บริหารกองทุน แล้วคุณจะเสียเงินเพิ่มเติมเพื่ออะไร
3. ถึงแม้คุณซื้อกองทุน Unit Link ผ่านบริษัทประกันชีวิต คุณก็เป็นคนเลือกกองทุน เช่นเดียวกันกับที่คุณไปซื้อกองทุนเองซึ่งเสียค่าธรรมเนียมน้อยกว่าพอควร
4. บริษัทประกันชีวิต ไม่รับผิดชอบต่อผลการดำเนินงานของกองทุน หรือจะเรียกว่า Unit Link นั้นมีผลตอบแทนที่ไม่แน่นอน เช่นเดียวกันกับการลงทุนในกองทุนด้วยตัวเองและการลงทุนในหุ้น

::: แล้วถ้าลงทุนในกองทุน ผลตอแทนจะเป็นเท่าไหร่ :::

มันขี้นอยู่กับกองทุนที่คุณเลือก หลายๆกองทุนขาดทุน หลายๆกองทุนผลตอบแทนดีมาก( 10% ต่อปีก็ถือว่าดีมากแล้วครับ)
แต่ถ้าคุณไม่มีความรู้ในการลงทุน ควรเลือกกองทุนดัชนี (ครั้งต่อไปจะเขียนถึงกองทุนดัชนี และจะเอาผลตอบแทนระหว่างการซื้อ Unit Link และซื้อประกัน+กองทุน ใครจะได้ผลตอบแทนดีกว่ากันมากให้ดูครับ)
ลองสมมติว่ากองทุนให้ผลตอบแทน 8% ในระยะยาว คุณออมเงินแล้วจะมีเงินเท่าไหร่



ถ้าลงกองทุนปีละ 12,000 บาท หรือเดือนละ 1,000 บาท เพิ่มเงินออมทุกๆ 5ปีอีก 500 บาท ระยะเวลาในการลงทุนอยู่ที่ 33 ปีคุณจะมีเงิน 3,375,833 บาท แต่ขอให้ระลึกเสมอว่าผลตอบแทนบางปีนั้นอาจจะขาดทุนและไปชดเชยเอาในปีถัดๆไป ดังนั้นเมื่อเกษีณไปแล้ว อายุมากแล้วและไม่ได้ทำงานประจำ การรับผลตอบแทนแบบขาดทุนเป็นสิ่งที่รับได้ยากเพราะเมื่อรายได้ประจำไม่มีเหมือนเดิมแล้วคุณจะรู้สึกไม่ดี และไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ผลตอบแทนจะเป็นบวก 
แต่ถ้ายังรักษาผลตอบแทนที่ 8% เอาไว้ได้ เงิน 3.375ล้านบาทก็จะให้ดอกเบี้ยปีละ 270,000 บาทหรือ เดือน 22,500 บาท เมื่อรวมกับเงินประกันสังคมก็น่าจะเพียงพอที่จะใช้ชีวิตแบบธรรมดาได้เหมือนกัน

สิ่งสำคัญของการวางแผนคือการลงทุนให้ตัวเอง ให้ตนมีความรู้มากกว่าเมื่อวาน เท่าทันกับโลกของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป วางแผนสม่ำเสมอ และป้องกันสิ่งที่ไม่คาดฝันเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย

จงลงทุนและเก็บออมตั้งแต่อายุยังน้อย และสำคัญกว่าการเริ่มลงทุนคือเริ่มหาความรู้ในการลงทุนที่ถูกต้องและมีทัศนคติที่ถูกต้อง เรียนรู้มันทุกๆวัน

เนื้อหาครั้งต่อไปจะแนะนำการจัดสรรการลงทุน(Asset Allocation)ให้เหมาะสมกับอายุ รายได้ ระยะเวลา และความรู้ที่มี

กรณีศึกษาผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้น
กราฟด้านล่างเป็นผลตอบแทนของพอร์ตคุณวิยะดา(นุ่ม) ตั้งแต่ปี มค. 2014 - เมษา 2017 ข้อมูลจาก itracker ของบัวหลวง(ส่วนที่ขาดไปนั้นเนื่องจากย้ายพอร์ตการลงทุนไปยังโบรกเกอร์ SBITO ไม่มีบริการเหมือนอย่างโบรกเกอร์บัวหลวง แต่ผลตอบแทนก็ยังดีอยู่☺)
ระยะเวล 3 ปี 4 เดือน 

=>> การลงทุนทำผลตอบแทนได้ 138% (ถ้าใครมีพอร์ตลงทุนกับบัวหลวงจะดูออกครับว่าหากไม่ถือเงินสดมากเกินไปผลตอบแทนน่าจะเกิน 200% ) Update ผลตอบ
=>> เมื่อเทียบกับ SET50 ได้ผลตอบแทน 12.5% ถ้ารวมผลตอบแทนของ SET50 อีกปีละ 3% ก็น่าจะได้ผลตอบแทนที่วันออกมาเป็น SET50 TRI ราวๆ 26.0% นี่ก็คือผลตอบแทนของกองทุน SET50 นั้นเอง(ก่อนหักค่าธรรมเนียมต่างๆ)

หมายเหตุเอามาให้ดูเพื่อเป็นแรงบันดาใจให้กับคนที่ต้องการวางแผนการเงินให้กับตัวเอง แต่แนวทางการบริการเงินก็ไม่ใช่เรื่องหุ้นเสมอไปยังมีอีกหลายทางที่น่าสนใจ

*** สำคัญที่สุดของการวางแผนการเงินคือ การรักษาผลตอบแทนให้ได้ในระยะยาว คือสิ่งเดียวกันกับการรักษาความรู้ให้เพิ่มพูนตลอดเวลา หากแค่วางแผนแต่ทำไม่ได้ แผนก็ยังเป็นแค่แผนยังไม่ใช่ความจริง >> จงลงมือทำเดียวนี้***






Wednesday, September 6, 2017

ลงทุนทางเลือกด้วยกองทุน


การลงทุนในดัชนี

ทุกวันนี้ดอกเบี้ยธนาคารอยู่ในระดับต่ำมานาน หากใครจะหาผลตอบแทนที่ดีๆจากการฝากเงินคงเป็นเรื่องยาก ผมขอแสดงสถิติการลงทุนเพื่อเป็นทางเลือก


รูปด้านบนแสดงให้เห็นถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือน(เฉลี่ยทั้งปีโดยประมาณ)นับตั้งปี 2522 ถึง 2560 จะพบว่าดอกเบี้ยเป็นขาลงมาโดยตลอด และในปี 2560 อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่เพียง 1.65% เท่านั้น
ในปี 2541 ผมเคยได้รับดอกเบี้ยจากออมทรัพย์ราวๆ 14-15%ต่อปี


ทางเลือกอีกอย่างคือการลงทุนในกองทุน
กองทุนก็คือผู้ที่จะบริหารเงินของผู้ลงทุนโดยทุกคนสามารถซื้อกองทุนได้ซึ่งจะเรียกว่า "ผู้ถือหน่วยลงทุน"
ผู้บริการกองทุนจะนำเงินที่ผู้ถือหน่วยลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆตามที่ระบุเอาไว้ในหนังสือชี้ชวนการลงทุน กองทุนไม่สามารถที่จะลงทุนนอกเหนือจากที่ได้แสดงข้อมูลในหนังสือชี้ชวนได้

ผมจะนำผลตอบแทนจากกองทุนที่ซื้อหุ้นจากดัชนีมาเป็นตัวพิจารณาเพื่อเปรียบเทียบในการลงทุน เพราะเหตุใดจึงต้องนำกองทุนดัชนีมาเปรียบเทียบ ข้อดีของกองทุนดัชนีคือ

  1. ไม่ต้องพึ่งพาความสามารถของผู้จัดการกองทุนมากนัก มีหลายกองทุนที่ผลตอบแทนย่ำแย่ไม่สมกับเงินค่าบริการที่ผู้ถือหน่วยได้จ่ายไป
  2. การลงทุนในดัชนี SET50 มีตัวเลือกหลายทาง เราอาจจะซื้อผ่านตลาดหลักทรัพย์ได้โดยง่ายผ่านพอร์ตหุ้น(บัญชีหุ้น)
  3. ค่าดำเนินการต่ำ เนื่องจากไม่ต้องพึ่งพาความสามารถของผู้จัดการกองทุนจึงทำให้การเลือกลงทุนไม่ต้องใช้สมอง เพียงแต่กองทุนซื้อหุ้นที่อยู่ในกลุ่มในจำนวนเฉลี่ยๆกันตามขนาดของมูลค่าตลาดของหุ้นแต่ละตัว
  4. ผลตอบแทนในระยะยาวตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

 ผมขอนำแผนภูมิแสดงผลตอบแทนรายปีของ 2 กองทุน LTF (เหตุผลที่เลือกแบบ LTF เพราะการซื้อ LTF เป็นทางเลือกที่ผู้ซื้อได้ประโยชน์ในการนำไปลดหย่อนรายได้เพื่อเสียภาษีน้อยลง) กองแรกคือ SCBLTS ซึ่งน่าจะให้ผลตอบแทนในกลุ่มท้ายๆตลอดระยะเวลานับตั้ังแต่ปี 2550 - 2560 และกองที่สองคือ CG-LTF เป็นกองที่ให้ผลตอบแทนอันดับต้นๆ(น่าจะอันดับ1)สำหรับผลตอบแทนระยะยาวตั้งแต่ปี 2550 - 2560 และผมจะมีกราฟแทงของผลตอบแทน SET, SET50, MAI ซึ่งทั้ง 3 อันนี้ได้รวมสิทธิทุกอย่าง หรือเรียกว่า TRI (ขอให้ดูคำอธิบายเพิ่มเติมไว้ในท้ายบทความ)

( ที่มาของผลตอบแทนในการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ www.set.or.th/th/products/index/tri_p1.html )
( ที่มาของผลตอบแทนกองทุน www.scbam.com/th/fund/ltf/fund-information/scblts และ www.uobam.co.th/th/mutual-fund/90034/CG-LTF )
( ที่มาของลำดับผลตอบแทนกองทุน LTF www.wealthmagik.com/FundInfo/TopFundPerformance.aspx )



และกราฟด้านล่างเป็นผลตอบแทนจากการเงินฝากประจำ 12 เดือนเฉลี่ยช่วงปี 2542 - 2560 อาจจะดูไม่ตรงกับประกาศของธนาคารใด แต่อยู่ในอัตราที่ใกล้เคียง


อันที่จริงผมควรจะทำเปรียบเทียบกับค่านิยมอีกอย่างของคนออมเงินคือ การออมไว้ในประกันชีวิตประเภทออมทรัพย์ แต่ขอไปรวบรวมเอกสารประกันแต่ละชนิดมาก่อนครับ

ตารางผลตอบแทนต่อปีคิดเป็น % ของเงินฝากและกองทุน จากปี 2545


เนื่องจากกองทุน LTF เริ่มดำเนินการจากปี 2550 ผมจะทำการเปรียบเทียบว่าเงินลงทุนในแต่ละอย่างโดยเริ่มต้นตั้งแต่ต้นปี 2550 เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท เมื่อถึงปี กันยายน 2560 เงินจำนวนนี้จะมีมูลค่าเท่าไหร่

ระยะเวลาการลงทุนจากปี 2550 - 2560 เป็นจำนวน 11 ปี เงิน 1 แสนบาท

  • หากฝากประจำ 12 เดือน จะมีเงิน 126,617 บาท ผลตอบแทนเฉลี่ยตลอด 11 ปีที่ 2.17% ทบต้น
  • หากนำไปลงทุนใน SET50 TRI (เทียบเท่ากับการซื้อ TDEX หรือ ESET50 หรือกองทุน SET50) จะมีเงิน 327,730 บาท ผลตอบแทนเฉลี่ยตลอด 11 ปีที่ 11.39 % ต่อปี ทบต้น
  • หากนำเงินไปลงทุน SCBLTS จะมีเงิน 128,603 บาท (ยังไม่รวมผลประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี) ผลตอบแทนเฉลี่ยตลอด 11 ปีที่ 2.31 % ต่อปีทบต้น
  • หากนำเงินไปลงทุน CG-LTF จะมีเงิน 454,266 บาท (ยังไม่รวมผลประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี) ผลตอบแทนเฉลี่ยตลอด 11 ปีที่ 14.75% ต่อปีทบต้น

นั้นเป็นเรื่องของอดีต 11 ปีที่ผ่านมาซึ่งในอนาคตคงไม่อาจจะคาดการณ์ได้ แต่อย่างที่บอกครับว่าการลงทุนใน SET หรือ SET50 ก็เหมือนลงทุนกับธุรกิจใหญ่ในประเทศไทยผลตอบแทนย่อมเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ
ขอให้ดูอีกครั้งว่าหากเรานำเงิน 1 แสนบาทไปเริ่มลงทุนในปี 2551 แล้วผลลัพธ์จะออกมาเป็นอย่างไร











  • หากฝากประจำ 12 เดือน จะมีเงิน 123,300 บาท ผลตอบแทนเฉลี่ยตลอด 10 ปีที่ 2.12% ต่อปีทบต้น






  • หากนำไปลงทุนใน SET50 TRI (เทียบเท่ากับการซื้อ TDEX หรือ ESET50 หรือกองทุน SET50) จะมีเงิน 327,730 บาท ผลตอบแทนเฉลี่ยตลอด 10 ปีที่ 10.68 % ต่อปีทบต้น







  • หากนำเงินไปลงทุน SCBLTS จะมีเงิน 128,603 บาท (ยังไม่รวมผลประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี) ผลตอบแทนเฉลี่ยตลอด 10 ปีที่ 2.14 % ต่อปีทบต้น







  • หากนำเงินไปลงทุน CG-LTF จะมีเงิน 454,266 บาท (ยังไม่รวมผลประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี) ผลตอบแทนเฉลี่ยตลอด 10 ปีที่ 12.56% ต่อปีทบต้น

  • นอกจากนี้เรายังมีกองทุนที่ลงทุนดัชนีหรือเฉพาะกลุ่มธุรกิจให้ได้เลือก เช่น กองทุนที่ลงทุนเฉพาะในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ รวมถึงทางเลือกของการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

    ผมได้ดูกราฟราคา(NAV) ของกองทุนต่างๆพบว่าเราสามารถเลือกช่วงเวลาการลงทุนให้เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลตอบแทนได้ และในทำนองเดียวกันหากเราเลือกผิดเราก็จะมีผลตอบแทนที่แย่กว่าในตารางได้ ในตารางคือการซื้อที่วันแรกของปี และการหาจังหวะการซื้อกองทุนก็สำคัญเช่นกันมันจะทำให้เรามีผลตอบแทนที่ต่างกันไปตามตัวอย่างที่แสดงไว้ทั้งสองตางราง

    ผลตอบแทนเมื่อเรารวมผลประโยชน์การลดหย่อนภาษีผมขอทำกรณีผู้ที่นำมูลค่าการลุงทน 1 แสนบาทและสามารถนำไปลดหย่อนภาษีในปีที่ได้ลงทุนเป็นจำนวน 10% หมายความว่าเราจะได้เงินคือ 1 หมื่นบาท ดังนั้น ผลตอบแทนจะเป็นดังนี้ ให้ดูบรรทัดสุดท้ายครับ

    SCBLTS จะให้ผลตอบแทน 3.23% ต่อปีทบต้น และ CG-LTF จะให้ผลตอบแทน 13.75% ต่อปีทบต้น

    อธิบาย เงินลงทุนในกองทุนจะถูกปรับลดเหลือ 9 หมื่นบาทเพราะเราสามารถขอคืนได้ 10% ซึ่งในตารางผมทำการคำนวณโดยใช้สูตร IRR ของ Excel ซึ่งจะหมายถึงผลตอบแทนต่อปีตลอดระยะเวลา 10 ปี ซึ่งจะมีเวลาไถ่ถอนกองทุนก่อน 1 ครั้ง เพราะกองทุน LTF สามารถที่จะไถ่ถอนได้ภายในระยะเวลา 7 ปีปฎิทินหรือ น้อยสุดคือ 5 ปี 2 วัน (เมื่อก่อนสามารถถือครองเพียง 5 ปีปฎิทินเท่านั้น) ก็ยิ่งทำให้เราได้รับผลตอบแทนสูงขึ้นไปกว่าที่แสดงในตารางอีกเล็กน้อย

    อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าทุกคนจะลงทุนในกองทุนกันได้ผลตอบแทนดีๆเสมอไป ก็เหมือนกับการลงทุนในหุ้นที่ยากพอสมควร แต่การเลือกลงทุนในกองทุนนั้นง่ายกว่าลงในหุ้นเองมาก เพราะแค่เรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลที่จำเป็นในการเลือกและดูนโยบายการลงทุนก็สามารถทำได้ และยิ่งง่ายไปใหญ่หากคุณเลือกลงทุนตามดัชนี SET50 เพราะแค่เปิดบัญชีหุ้นหรือบัญชีกองทุนก็สามารถซื้อได้ทันที และรอรับผลตอบแทน(ที่อาจจะออกมาบวกหรือลบก็ได้) แต่สำหรับผมแล้วการลงทุนในดัชนีเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับการลงทุน แต่เชื่อมั่นว่าบริษัทธุรกิจเอกชนใหญ่ๆในตลาดหลักทรัพย์จะสร้างผลตอบแทนได้ตามสภาวะเศรษฐกิจและย่อมต้องดีกว่าการฝากเงินอย่างแน่นอนครับ

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
    ดัชนีผลตอบแทนรวม (TRI)  
    ดัชนีผลตอบแทนรวม คือ การคำนวณผลตอบแทนทุกประเภทของการลงทุนในหลักทรัพย์ให้สะท้อนออกมาในค่าดัชนี ทั้งผลตอบแทนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหลักทรัพย์ที่ลงทุน (Capital gain/loss) สิทธิในการจองซื้อหุ้น (Rights) ซึ่งเป็นสิทธิที่ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน ซึ่งมักจะให้สิทธิซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด ณ ขณะนั้น และเงินปันผล (Dividends) ซึ่งเป็นส่วนแบ่งของกำไรที่จ่ายให้กับผู้ถือหุ้น โดยมีสมมติฐานเพิ่มเติมว่าเงินปันผลที่ได้รับนี้จะถูกนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ด้วย (Reinvest)

    ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จัดทำการคำนวณค่าดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์ (SET TRI) ดัชนีผลตอบแทนรวม SET50 (SET50 TRI) ดัชนีผลตอบแทนรวม SET100 (SET100 TRI) ดัชนีผลตอบแทนรวม SETHD (SETHD TRI) ดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai TRI) และดัชนีผลตอบแทนรวมรายอุตสาหกรรม (Industry TRI) รายวัน เพื่อเป็นเครื่องมือเพิ่มเติมสำหรับสะท้อนผลตอบแทนโดยรวมจากการลงทุนในแต่ละกลุ่มหลักทรัพย์ พร้อมกันนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯได้คำนวณอัตราผลตอบแทนรวมรายเดือนของหลักทรัพย์ย้อนหลัง 12 เดือน สำหรับเป็นข้อมูลเพิ่มเติมให้กับผู้ลงทุนที่ต้องการเปรียบเทียบผลตอบแทนการลงทุนเป็นรายหลักทรัพย์