Monday, October 9, 2017

เป้าหมายคือ ได้ผลตอบแทนดีในระยะยาว


ตั้งแต่ลงทุนมาจากปี 2547(ปลายธค.2546) สิ่งที่ผมอยากได้จากการลงทุนคือ การมีผลตอบแทนอย่างสม่ำเสมอในระยะยาว โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 18% ตลอดเวลา 20 ปี
ผ่านไปถึงวันนี้ก็ 14 ปีแล้ว สิ่งที่วางแผนก็เป็นไปเป้าหมายที่วางไว้ แต่ผมก็ไม่มีข้อมูลอะไรที่จะเปรียบเทียบผลตอบแทนที่ว่าได้
ในปี 2014 ทางโบรกเกอร์บัวหลวง(BLS) ได้ทำมีเครื่องมือการวัดผลตอบแทนซึ่งเป็นแบบเดียวกันกับกองทุนที่แสดงค่า NAV ทำให้นับแต่วันนั้นผมก็มีตัวเปรียบเทียบกับกองทุน

พอร์ตแรก
ได้รับผลตอบแทนตั้งแต่ 2014- 6 Oct 2017 เป็นจำนวน 162.33% เป็นตัวเลขที่เอาชนะกองทุนทุกประเภทในประเทศไทย

ในขณะที่ผลตอบแทนในช่วง 1 Jan 2017 - 6 Oct 2017 ทำได้ 30.4% ตัวเลขนี้แพ้กองทุนในประเทศของกรุงศรีที่ทำผลงานได้ถึง 33.3% ส่วนของบลจ.อื่นๆทำได้น้อยกว่า30% และแพ้กองทุนต่างประเทศที่ปีนี้ทำได้ดีมากโดยส่วนใหญ่มีหลายๆกองที่มีผลตอบแทนเกิน 30%


ตารางผลตอบแทนกองทุนที่มีผลตอบแทนเกิน 30% จากต้นปี 2017 ถึง October 2017 ข้อมูลจาก Morningstarthailand.com
พอร์ตที่2

ผลตอบแทนในช่วง 1 Jan 2017 - 6 Oct 2017 ทำได้ 30.87% และผลตอบแทนตั้งแต่ 2014- 6 Oct 2017 เป็นจำนวน 163.32% ถือว่าใกล้เคียงกับพอร์ตที่1 มาก

พอร์ตที่3
ผลตอบแทนตั้งแต่ 2014- 6 Oct 2017 เป็นจำนวน 129.57% น้อยกว่า พอร์ตที่1และ2 ราวๆ 30% มีเหตุผล2ประการที่ทำให้ผลตอบแทนแตกต่างกัน
1.เพราะการเพิ่มเงินลงทุนที่เป็นเงินสดระหว่างปี (สีแดงของกราฟแท่งด้านล่างสุดแสดงมูลค่าเงินสดคิดเป็น% และสีฟ้าของกราฟแท่งแสดงมูลค่าหุ้นที่ถือครอง) และเป็นจำนวนถึง 20% ของพอร์ตและไม่ได้นำไปซื้อหุ้นเพิ่มทำให้เมื่อหุ้นในพอร์ตมีราคาเพิ่มสูงขึ้นผลตอบแทนจึงไม่ได้เพิ่มตามมานัก
2.มีการถือครองเงินสดในจำนวนที่เยอะเกินความจำเป็น
ถ้าจะเปรียบเทียบพอร์ตนี้คงเทียบได้กับกองทุน 70/30 ที่ลงหุ้น 80% ส่วน 20% ลงทุนในตราสารหนี้

พอร์ตที่4

ผลตอบแทนตั้งแต่ 2014- 6 Oct 2017 เป็นจำนวน 153.46 % ถือว่าภาพรวมทำได้น้อย แต่ถ้าดูในรายละเอียดพอร์ตนี้มีผลตอบแทนดีที่สุดที่ทุกพอร์ตการลงทุน เพราะถือครองเงินสด(ซึ่งมีผลตอบแทนต่ำแค่าราวๆ 1%) เป็นจำนวนมากเกือบตลอดเวลา และในช่วงมีนาคมของปีนี้หุ้นส่วนใหญ่ได้ถูกย้ายไปที่โบรกเกอร์ SBITO ที่มีค่านายหน้าต่ำกว่าบัวหลวงครึ่งหนึ่ง ทำให้พอร์ตนี้ไม่ได้มีการเก็บสถิติแล้ว
แต่ผมจะเริ่มเก็บนับตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นไปในรูปแบบ EXCEL

เครื่องมือที่ใช้ในการลงทุน

1.หนังสือเพื่อชี้แนะการลงทุน ได้แก่หนังสือที่เขียนถึงหลักการลงทุนของ warren buffet เช่น buffetology, หนังสือของ Phillip A fisher หุ้นสามัญกำไรไม่สามัญ, หนังสือของ Peter Lynch กาลครั้งหนึ่ง ณ วอลสตรีต และอีกหลายเล่ม
โดยส่วนตัวของผมอ่านไปไม่น่าจะน้อยกว่า 20 เล่ม






2.รายงานประจำปี/รายงานผลประกอบการรายไตรมาส/แบบ F56-1 หาเรารู้แค่หลักการการลงทุนก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่รู้หลักการที่ทำให้เรียนดีแต่ไม่รู้วิธีการว่าจะทำอย่างไรกับมันให้ได้ผลที่ดี รายงานประจำปี/รายงานผลประกอบการ/แบบ F56-1 (ผมขอเรียกว่ารายงานการดำเนินงาน) จะบอกถึงโอกาสและปัญหา ตัวเลขตัวหนังสือจะแสดงถึงทั้งอดีตที่ผ่านไปแล้ว และอนาคตที่มีบางอย่างที่เกือบแน่นอนและไม่แน่นอน รวมถึงการแสดงความเห็นของฝ่ายบริหารเพื่อให้เราเห็นว่าระหว่างบริษัทหนึ่งกับอีกบริษัทหนึ่งที่อยู่ในอุตสหกรรมเดียวกันมองอะไรที่แตกต่างกัน หรือเป็นการแก้ตัวในข้อผิดพลาดของฝ่ายบริหาร และจงอย่าเชื่อข้อความที่สวยหรูของฝ่ายบริหาร จงดูผลของการกระทำที่ผ่านมาว่าดูดีแค่ไหน
(คำแนะนำควรอ่านปีละไม่น้อยกว่า 100 บริษัท)
3.นำงบการเงินมาทำเป็นตัวเลขติดต่อกันหลายๆปี หรือหลายๆไตรมาส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรายได้ กำไร ค่าใช้จ่าย กระแสเงินสด
ต่อไปนี้คือตัวอย่างของกราฟการผลประกอบการ หากบริษัททำดีมาตลอดโอกาสทำดีในอนาคตย่อมมีโอกาสสูง อย่างไรก็ตามควรดูคุณภาพของกิจการผ่านข้อ2 ด้วย









3.การติดตามการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตของสังคม การเปลี่ยนแปลงทำให้เราได้พบหุ้นที่มีการเติบโตของรายได้และกำไรทั้งๆที่ GDP ของโลกก็โตแค่ 3% แต่กลับมีหุ้นบางตัวเติบโตสูง นั้นเป็นเพราะการแทนที่ของล้าสมัยด้วยของที่ทันสมัย ของที่ล้าสมัยต่อให้งบการเงินดูดีสุดท้ายมันก็ล่มสลาย

4.ถ้าเป็นคนไม่สร้างหนี้กลัวการมีหนี้ก็เลือกหุ้นที่ฐานะการเงินดีและธุรกิจยังโตได้ จะปลอดภัยที่สุดไม่ว่าดอกเบี้ยขาขึ้นหรือขาลง

Tuesday, October 3, 2017

กรณีศึกษา 90/90 VS 90/20

กรณีศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงแง่คิดต่างๆของประกันชีวิต ว่าควรเลือกแบบใดจึงให้ผลตอบแทนดีที่สุด


ผมขอยกตัวอย่างของผมเอง
1.อาชีพชั้นที่ 1
2.อายุ 42 ปี
3.เปรียบเทียบผลตอบแทนเมื่อถึง 20 ปี
4.ทำประกันแบบ 90/90 กับ 90/20 อะไรดีกว่ากัน

>> แบบA 90/90 + term 19 ปี + CIYRT

ทุกประกันหลัก 200,000 บาท ชำระเบี้ย 2,440x2 = 4,880 บาทต่อปี
term19 ปี ทุน 500,000 บาท ชำระเบี้ย 962x5 = 4,810 บาท/ปี
CIYRT ทุน 500,000 บาท ชำระเบี้ย 4,655 บาท/ปี

รวม 14,345 บาทต่อปี
ผลประโยชน์ที่จะได้รับ
ตายทุกรณี 1.2 ล้านบาท
เป็นโรครายแรงแต่ยังไม่ตาย 0.5 ล้านบาท


>> แบบB 90/20 + term 19 ปี + CIYRT

ทุกประกันหลัก 200,000 บาท ชำระเบี้ย 3,190x2 = 6,380 บาทต่อปี
term19 ปี ทุน 500,000 บาท ชำระเบี้ย 962x5 = 4,810 บาท/ปี
CIYRT ทุน 500,000 บาท ชำระเบี้ย 4,655 บาท/ปี

รวม 15,845 บาทต่อปี
ผลประโยชน์ที่จะได้รับ
ตายทุกรณี 1.2 ล้านบาท
เป็นโรครายแรงแต่ยังไม่ตาย 0.5 ล้านบาท
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

*** เพื่อให้เปรียบเทียบกันง่ายๆ ขอเทียบเฉพาะเบี้ยของประกันหลักต่อ1แสน และจะไม่ประเมินอนุสัญญาเพราะเป็นเบี้ยปีต่อปีไม่มีการสะสมของเงิน ***


ทั้งสองแบบมีความคุ้มครองเท่ากัน แต่ต่างกันที่เบี้ยประกันหลัก ต่างกันอยู่ที่ 1500 บาทต่อปี หรือคิดเป็น 750 บาทต่อความคุ้มครอง 1 แสนต่อปี

ในปีที่ 20 ของกรมธรรม์หากผมจะเวนคืนกรรมธรรม์ ผมจะได้เงินดังนี้

แบบA เวนคืนได้ 35,000 บาท (จ่ายมา 20 ปีรวมเป็นเงิน 2,440x20 = 48,800 บาท ขาดทุน -13,800 บาท)
แบบB เวนคืนได้ 56,200 บาท (จ่ายมา 20 ปีรวมเป็นเงิน 3,190x20 = 63,800 บาท ขาดทุน -7,600 บาท)


แต่ข้อแต่ต่างระหว่าง 2 กรมธรรม์คืนเงินส่วนเกิน 750 บาท ผมจะไปทำประโยชน์ดังนี้

ข้อสรุปที่1. หากตัวผมเลือก 90/90 ผมจะมีเงินเหลือปีละ 750 บาท ผมจะนำเงินนี้ไปทำการซื้อกองทุนและมันก็ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 4%   (ดูตารางการคำนวณผลตอบแทนทบต้นท้ายบทความ)
ในแบบ 90/90 ผมจะมีกำไรในปีที่ 20 อยู่ที่ 9,427 บาท ในขณะที่ 90/20 ขาดทุน -7,600 บาท




ข้อสรุปที่2. หากตัวผมเลือก 90/90 ผมจะมีเงินเหลือปีละ 750 บาท ผมจะนำเงินนี้ไปทำการฝากประจำและมันก็ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 1.8%   (ดูตารางการคำนวณผลตอบแทนทบต้นท้ายบทความ)
ในแบบ 90/90 ผมจะมีกำไรในปีที่ 20 อยู่ที่ 2,262 บาท ในขณะที่ 90/20 ขาดทุน -7,600 บาท


















และผมจะลองคำนวณการเวนคืนกรมธรรม์ในปีที่ 30 ซึ่งในขณะนั้นผมคงไม่ต้องการคุ้มครองอะไรแล้วครับ อายุปาเข้าไป 72 ปี
โดยที่ 90/90 ต้องส่งเบี้ยเป็นเวลา 30 ปี ในขณะที่ 90/20 ส่งเบี้ย 20 ปี ทำให้เกิดข้อสรุปที่3และ4

ข้อสรุปที่3. นำเงินส่วนเกิน 750 บาท แบบ90/90 จะมีกำไร 16,081 บาท ส่วนแบบ90/20 จะมีกำไรเช่นกันที่ 5,800 บาท

















ข้อสรุปที่4. แบบ90/90 จะมีกำไร 3,438 บาท ส่วนแบบ90/20 จะมีกำไรเช่นกันที่ 5,800 บาท ซึ่งเป็นแบบที่ 90/20 ดีกว่า 90/90 นั้นแสดงว่าแบบ90/20 ในระยะยาวให้ผลตอบแทนดีกว่า 1.8% ต่อปี ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่ไม่สามารถนำเงินส่วนเกินไปทำประโยชน์ได้มากกว่า 1.8% ต่อปี
















แต่ถ้าจะมองเรื่องผลตอบแทนกันจริงๆ เราควรต้องเข้าใจเป็นอย่างดีว่าเงินที่เราส่งเบี้ยไปทุกๆปีสำหรับส่วนของประกันหลักจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ก้อนได้แก่ 1.นำไปเป็นเบี้ยประกันชีวิตจริงๆคล้ายๆกันเบี้ยแบบ TERM ที่ส่งปีต่อปีแต่มีสัญญาระยะยาว 2.เงินออมทรัพย์และจะถูกนำไปคำนวณเป็นเงินคืนไม่ว่าจะคืนเมื่อครบสัญญาหรือคืนก่อนกำหนด(เวนคืนกรมธรรม์)

การเลือกทำประกันแบบใดก็คงขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคน ความต้องการของแต่ละคนคงไม่เหมือนกัน แต่ถ้ามั่นใจว่าจะจัดการเงินได้ผลตอบแทนดีๆเช่นในตัวอย่างคืน 4% ก็ให้เลิือกแบบ 90/90
แต่ถ้ามองระยะยาวมากคือถือกรมธรรม์ไปจนอายุครบ 90 ปี 90/20 ก็เป็นตัวเลือกที่ดีหากคุณไม่สามารถหาผลตอบแทนที่ดีกว่า 2.75 ต่อปี




ตารางเงินสะสมจากการลงทุนซื้อกองทุนผลตอบแทนเฉลี่ย 4% ต่อปี โดยหยุดเพิ่มเงินในปีที่ 20



ตารางเงินสะสมจากการฝากเงินผลตอบแทนเฉลี่ย 1.8% ต่อปี โดยหยุดเพิ่มเงินในปีที่ 20



วรินทร์ จิรเจษฎา
จันทร์เพ็ญ เทียมชัยภูมิ