Tuesday, November 28, 2017

สรุปเนื้อหา The intelligent investor ตอนที่1


หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาสำคัญดังนี้

=> ให้ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนใน ตราสารหนี้ พันธบัตร กองทุน และหุ้น

=> แนะนำให้นักลงทุนเข้าใจสถานะความรู้ในการลงทุนของตัวเอง โดยจะแบ่งนักลงทุนเป็น 2 ประเภทคือ
     1.นักลงทุนเชิงรับ เป็นนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนระยะยาว 7-8% ต่อปีตลอดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 20 ปี(ถ้าต่ำกว่านี้อาจจะไม่สามารถทำผลตอบแทนได้ในระดับนี้ - ผู้เขียน blog) เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ชั้นดี พันธบัตร กองทุนดัชนี และหุ้นในสัดส่วนน้อยหรือไม่มีเลย โดยหลักการแล้วนักลงทุนเหล่านี้ไม่ต้องใช้ความสามารถมากนัก จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการศึกษาหุ้นอย่างจริงจัง

     2.นักลงทุนเชิงรุก เป็นนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่ดีเลิศในระยะยาว 12% ต่อปีตลอดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปีขึ้นไป เน้นการลงทุนไปที่ ตราสารหนี้ชั้นดี พันธบัตร กองทุนดัชนี และหุ้นในสัดส่วนที่มาก 30:70 นักลงทุนประเภทนี้จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ในการลงทุนอย่างหนัก

*** จะไม่มีนักลงทุนเชิงกึ่งรับกึ่งรุก เพราะหากนักลงทุนเชิงรับเพิ่มความรู้ความสามารถของตนเองเข้าไปอีกเพียงเล็กน้อยแทนที่เขาจะได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นอีกเล็กน้อย แต่ผลลัพธ์ส่วนใหญ่คือความเสียหาย คุณต้องเลือกให้ได้ว่าคุณจะเป็นแบบไหน

*** นักลงทุนทั้ง 2 ประเภทยังคงใช้หลักการลงทุนที่เหมือนกันคือ การเห็นตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้เป็นผู้รับใช้

*** เลือกลงทุนตราสารหนี้ พันธบัตรในช่วงเวลาที่มันให้ผลตอบแทนที่ดีซึ่งปกติจะตรงกันข้ามกับการลงทุนในหุ้น คือเพิ่มพันธบัตรเมื่อดอกเบี้ยสูง( ประมาณ 6% - ผู้เขียน blog) และลดการลงทุนในหุ้นหรือกองทุนลง

*** สำหรับนักลงทุนเชิงรุกเลือกลงทุนในหุ้นตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด (เนื่องจากว่าสภาพแวดล้อมการลงทุนเปลี่ยนไป การเลือกหุ้นด้วยวิธีการดังกล่าวในปี 2559-2560 อาจจะทำได้ยาก แต่หลักการดังกล่าวยังเป็นกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดและดีเสมอ - ผู้เขียน blog)

*** การลงทุนจะดูอัตราส่วนทางการเงินและผลประกอบการในอดีตเป็นหลัก

=> เป็นหนังสือที่สอนถึงการประสบผลสำเร็จด้วยวิธีที่ต้องใช้การอดทน และไม่ลองดีคิดว่าตนเองเก่ง

=> ชี้ว่าการลงทุนในกองทุนควรเป็นกองทุนดัชนี และในระยะยาวแล้วมันจะไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าดัชนีได้ ควรหลีกเลี่ยงการลงทุนในกองทุนเชิงรุกและกองทุนที่มีค่าดำเนินการสูง(มากกว่า 1% ต่อปีถือว่าสูง - ผู้เขียน blog)


=> สามารถนำมาใช้กับตลาดหุ้นไทยได้

=> นิยามนายตลาด ลองสมมติว่าคุณเป็นเจ้าของหุ้นในบริษัทส่วนตัวบริษัท และคุณมีหุ้นส่วนคนหนึ่งชื่อ “นายตลาด” ทุกๆ วันเขาจะมาเสนอซื้อหรือเสนอขายหุ้นให้กับคุณ
บางครั้งความคิดของเขาเกี่ยวกับราคาหุ้นที่เขาบอกมานั้นก็ดูมีเหตุมีผล แต่ในบางครั้ง ราคาหุ้นที่เขาเสนอมาดูเหมือนจะเป็นราคาที่ดูโง่เขลาในสายตาของคุณ
นักลงทุนที่แท้จริงจะสามารถหาประโยชน์จากราคาซื้อขายหุ้นรายวันของนายตลาด หรืออาจจะปล่อยไว้เฉยๆ ก็ได้ แล้วแต่ความเข้าใจและวิจารณญาณของตนเอง
โดยทั่วไปแล้ว ความผันผวนของราคาหุ้นมีความหมายเพียงอย่างเดียวสำหรับนักลงทุนที่แท้จริง 
นั่นก็คือเป็นโอกาสที่จะซื้อหุ้นเมื่อราคาลดลง และเป็นโอกาสในการขายหุ้นเมื่อราคาเพิ่มขึ้นอย่างมาก
โดยส่วนใหญ่แล้ว นักลงทุนจะทำผลตอบแทนได้ดีขึ้น ถ้าเขาเลิกสนใจตลาดหุ้น และหันไปให้ความสนใจกับเงินปันผลและผลประกอบการของบริษัทมากกว่า” คัดลอกบางส่วนมาจาก investmentdatas.blogspot.com (หากคุณไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของนายตลาดหนึ่งในนั้นคือเลิกติดตามข่าว นักวิเคราะห์หุ้นทั้งหลายที่พยายามทำนายอนาคตและทำนายเศรฐกิจ  - ผู้เขียน blog )



Thursday, November 16, 2017

กองทุนดัชนี

เหตุผลที่ต้องเลือกลงทุนในกองทุนดัชนี

- ก่อนอื่นควรตรวจสอบว่าเรามีความรู้เรื่องการลงทุนมากน้อยแค่ไหน หรือเทียบง่ายๆว่าสามารถลงทุนในหุ้นด้วยตนเองแล้วได้ผลตอบแทนที่ดีในระยะเวลา 3 ปีหรือไม่ หากไม่คุณควรเข้าใจว่ากองทุนก็เป็นทางเลือกอย่างหนึ่ง
- กองทุนนั้นมีหลายประเภท การเลือกลงทุนของผจก.กองทุนก็มีผลตอบแทนที่ดีและแย่ได้ ไม่มีอะไรรับประกันว่ากองทุนจะได้ผลตอบแทนที่ดี
- กองทุนเชิงรุกจะมีผลตอบแทนทั้งดีกว่าค่าเฉลี่ยของดัชนี และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของดัชนี นอกจากนี้มักมีค่าธรรมเนียมในการบริหารสูงกว่ากองทุนเชิงรับ(passive) แต่โดยส่วนมากแล้วในระยะยาวกองทุนเชิงรุกจะมีผลตอบแทนที่ต่ำกว่าดัชนี และต่ำกว่ากองทุนดัชนีที่เก็บค่าธรรมเนียมต่ำ
- กองทุนเชิงรุกอาจจะมีผลตอบแทนที่ดีในระยะสั้น แต่ในระยะยาวอาจจะเสียหายได้ นอกจากนี้แล้วในระยะ 10 ปีขึ้นไป ค่าธรรมเนียมในระดับ 2% ต่อปีขึ้นไปจะทำให้กองทุนเชิงรุกเสียหายหนักได้
- การที่กองทุนเชิงรุกบางกองยังมีผลตอบแทนที่ดีได้ นั้นเป็นเพราะผู้บริหารบางคนมีความสามารถสูงและยังอยู่ดูแลกองทุนนั้น หากเขาคนนั้นลาออกไปผลตอบแทนก็จะเปลี่ยนไป และเหตุการณ์เหล่านี้ได้เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆในอเมริกาเนื่องจากการซื้อตัวของบริษัทจัดการกองทุนอื่น และหลายๆกรณีที่กองทุนคนเดิมก็ไม่สามารถรักษาผลกำไรที่ดีเอาไว้ในระยะยาวได้

ทำไมควรลงทุนในกองทุนดัชนีนำตลาด

เช่น S&P500, SET50
- ให้ผลตอบแทนตามมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ
- หุ้นที่ไม่เข้าเกณฑ์จะถูกถอดถอนออกจาก SET50 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้นดีๆจะอยู่ใน SET50
- ไม่ต้องพิ่งพาความสามารถของผจก.กองทุน เอาคนโง่ๆมาบริหารก็ยังได้ผลตอบแทนตามดัชนี ซึ่งควรเพิ่มขึ้นไปตามกาลเวลา ตามขนาดเศรษฐกิจของประเทศ
- ค่าธรรมเนียมในการจัดการต่ำเมื่อเทียบกับกองทุนแบบเชิงรุก(active) ทำให้ในระยะยาว กองทุนเชิงรับจะได้ผลตอบแทนที่ดีได้เช่นกัน

ควรเลือกกองทุนดัชนีอะไรบ้าง

1.หากเลือกกองทุนในประเทศจะได้เปรียบเรื่องค่าธรรมเนียมในการซื้อขายและการบริหาร และหากจะให้ดีควรลงทุนในกอง LTF ทำให้เราสามารถนำค่าซื้อกองทุนนี้ไปหักรายได้เพื่อลดหย่อนภาษีอีกทาง

2.ถ้าจะลงทุนตปท.ควรมองไปที่ประเทศที่ได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น USA CHINA และอยู่ในช่วงการเติบโต แต่จะมีความเสี่ยงอื่นๆเช่น อัตราแลกเปลี่ยน ค่าดำเนินการที่สูง(2 ต่อ ค่าจ่ายให้กับผู้ดำเนิการในไทยและผบห.กองทุนในตปท.)

3.ควรจัดสรรสัดส่วนการลุงทุนตามความรู้ความสามารถ ติดตามว่าประเทศใดจะมีการเติบโตในช่วงใดที่ดีหรือมีอนาคตมากกว่ากัน ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละคน

จังหวะในการลงทุน

- หลายคนชอบลงทุนแบบ DCA ทยอยลงทุกๆเดือนตามที่เงินเดือนออกเพื่อวินัยในการลงทุน แต่โดยส่วนตัวเห็นว่าควรซื้อในจังหวะใดที่ตลาดตกต่ำแล้วใช้เงินเยอะๆจะดีกว่า โดยการเก็บเงินไว้ในธนาคารก่อนเมื่อมีจังหวะก็ซื้อคราวละมากๆ
- การเข้าผิดจังหวะก็อาจจะทำให้เสียหายได้ อย่าคิดว่ากองทุนเสียหายหนักๆไม่ได้ บางทีการซื้อกองทุนในสภาวะกระทิง(คือช่วงที่ดัชนีขึ้นสูงต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายเดือนหรือ 2-3 ปี) จะทำให้ผลตอบแทนในระยะยาวต่ำลงอย่างมาก
- ในขณะที่ตลาดหุ้นเป็นกระทิง ดัชนีขึ้นติตต่อกันมานาน จงระลึกเสมอว่าหากการเพิ่มขึ้นของดัชนีที่ไม่สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของผลการดำเนินงานที่เป็นกำไร แม้การเพิ่มขึ้นนี้จะเป็นความสบายใจของนักลงทุนที่เห็นพอร์ตสีเขียว แต่สำหรับผู้ที่เข้ามาใหม่อาจจะต้องพบกับความเสียหายได้และไม่นานดัชนีก็จะกลับไปสู่จุดที่เหมาะสมกับผลประกอบการของมัน
- ในขณะที่ตลาดเป็นหมีซบเซามานาน หรือการลดลงของดัชนี 20% ขึ้นไป อาจจะทำให้นักลงทุนไม่กล้าเพราะเข็ดกับการติดดอยก่อนหน้านี้ แต่นี่จะเป็นจังหวะของการเข้าซื้อหุ้น และการซบเซานั้นเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ และสถิตินี้จะอยู่ต่อไปอีกนาน

ความเข้าใจผิดการลงทุนระยะยาวจะให้ผลตอบแทนที่ดีเสมอ

- หลายคนมีความเข้าใจเช่นนั้น ซื้อแล้วถือยาวแล้วในระยะยาวถ้าหุ้นดีมันก็จะกลับมาและให้ผลตอบแทนที่ดี ฟังดูก็มีเหตุผล แต่การเลือกลงทุนในจังหวะที่ตลาดเป็นกระทิงมากๆอาจจะทำให้ผลตอบแทนคุณดูแย่ลงไปทีเดียว
- มีหลายคนต่างนำสถิติ SET ในปี2536-2537 เป็นช่วงที่ดัชนีขึ้นสูง(ดอย)แล้วบอกว่าซื้อตอนนั้นมาถึงตรงนี้ไม่ขาดทุนแล้ว! ไม่จริงเลย ไม่ว่าSETหรือSET50 ต่างก็บรรจุหุ้นที่ยังอยู่รอด มีหุ้นอีกหลายตัวล้มหายตายจากไป แล้วมันก็ไม่ได้นำไปรวมเป็นค่าดัชนี มันเป็นปัญหาที่เรียกว่า survivorship bias ดังนั้นจงอย่าประมาทในการเลือกลงทุน
- ดังนั้นการเลือกลงทุนในกองทุนที่มิใช่กองทุนดัชนี อาจจะทำคุณเสียหายได้ในระยะยาว มีมากมายหลายกองทุนที่ต้องเสียหาย แต่จะว่าไปแล้วผู้ที่เสียหายจริงๆก็คือผู้ถือหน่วยไม่ใช่ตัวผู้บริหารกองทุนที่ได้รับผลตอบแทนดีอยู่แล้ว

ข้อสรุปสำหรับนักลงทุนเชิงรับในประเทศ

- ผมแนะนำให้ลงทุนในกองทุน LTF ที่เป็นกองทุนดัชนี SET50 และควรจะลงทุนอย่างน้อย 10 ปีขึ้นไป นอกจากผลประโยชน์ด้านภาษีแล้วยังทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนปกติที่ได้จากการลงทุน SET50
- ควรมองหากองทุนที่มีค่าจัดการต่ำๆ
- หาจังหวะซื้อที่เหมาะสมเพื่อให้ผลตอบแทนออกมาดี ไม่ควรซื้อในภาวะตลาดกระทิง ควรซื้อในช่วงตลาดหมี แต่อย่างไรก็ดีจัวหวะเหล่านี้ก็ไม่อาจจะกะกันได้ง่ายๆ ต้องใช้ประสบการณ์และความเข้าใจเรื่องของมูลค่าแพงไม่แพงของดัชนีมาเป็นตัวตัดสิน โดยให้พิจารณาถึง P/BV, เงินปันผล และอัตราดอกเบี้ย เป็นเกณฑ์สำคัญ และปริมาณการซื้อขายก็เป็นตัวชี้วัดอีกตัวที่พอจะบอกสภาวะตลาดได้คือหากปริมาณการซื้อขายต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมา 10 วันทำการก็เป็นสัญญาซื้อของนักลงทุน โดยอาจจะแบ่งเงินทะยอยซื้อก็ได้

แหล่งข้อมูลกองทุน
1. wealthmagik
2. Morningstarthailand


Thursday, November 9, 2017

หุ้นประกันชีวิต

การวิเคราะห์หามูลค่าหุ้นประกันชีวิตโดยนักวิเคราะห์และนักลงทุนทั่วไปนั้นทำไม่ได้อย่างแน่นอน เพราะนักวิเคราะห์ไม่ทราบถึงรายละเอียดของกรมธรรม์แต่ละฉบับของลูกค้าในแต่ละคน หรือแต่ละชนิดของกรมธรรม์นั้นๆ บริษัทมหาชนอย่าง BLA จึงเปิดเผยค่า EV

หลักการทั่วๆไปในการวิเคราะห์คือ การหามูลค่ากิจากร EV หรือ Embedded Value แต่ค่านี้เกิดจากสมมติฐานหลายตัว และต้องนำกรมธรรม์ลูกค้าทุกฉบับมาคำนวณ(โดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย)

ในปี 2559 BLA มี EV 54,739 ล้านบาทที่ discount rate 9% และ ROI 4.25% ในขณะที่ market cap. ของ BLA อยู่ที่ 37x1708 = 63,196 ล้านบาท
โดยหลักการวิเคราะห์ธุรกิจอะไรก็ตามเราก็ควรจะเข้าใจวิธีการดำเนินกิจการของบริษัทนั้นๆเป็นอย่างดี การหามูลค่าของธุรกิจประกันชีวิตนั้นมีรายสุทธิ(กำไรขั้นต้น)คือ
1.การรับเบี้ยประกัน(คุ้มครองชีวิตและสุขภาพ)ลบอัตราการเคลม

2.การนำเงินที่ยังไม่ได้จ่ายเคลมไปแสวงหาผลประโยชน์(ระยะสั้น กลาง ยาว ตามอายุสัญญาของกรมธรรม์) เงินส่วนนี้เราเรียกว่า float

3.สำหรับสัญญาระยะยาว(เฉพาะกรมธรรม์หลัก)เช่น whole life 90/20 ถือเป็นสัญญาระยะยาวเป็นสัญญาที่บริษัทได้ผลประโยชน์มากที่สุด เพราะสามารถวางแผนการลงทุนระยะยาวได้ซึ่งจะได้ผลตอบแทน ROI ราวๆ 3%(risk free rate) และอาจจะมากกว่านี้หากมีการผสมกับตราสารหนี้เอกชนและตราสารทุน ซึ่งในภาวะปัจจุบันควรอยู่ที่ 5% แต่บริษัทจะจ่ายผลประโยชน์ได้ 2 แนวทางคือการมรณะ และการคืนเงินซึ่งจะให้ผลตอบแทนแก่ลูกค้าราวๆ 1.75-2.2% (IRR2% ได้รวมค่าใช้จ่ายที่ให้แก่ตัวแทนขายประกันแล้ว) ทำให้บริษัทมี Net interest margin ราวๆ  3% ยิ่งสัญญามีมาเพิ่มเท่าไหร่ก็ยิ่งจะมีกำไรมากขึ้นไปทุกๆปีที่มีการขายประกันเพิ่มและหักลบด้วยสัญญาที่สิ้นสุดลง(ไม่ว่าจะด้วยเหตุการเวนคืนกรมธรรม์หรือลูกค้าเสียชีวิต หรือสิ้นสุดสัญญา90ปีซึ่งอันหลังนี้ค่อนข้างยาก) แต่การลงบัญชีระหว่างหนี้สินและทรัพย์สินต้องทำการ discount ให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน

4.ประเภทออมทรัพย์ระยะสั้น มักจะให้ IRR 2.4 - 2.5% เป็นแบบที่บริษัทขายประกันทำกำไรยากมาก เพราะการให้ผลตอบแทนลูกค้าในระดับ 2.4% น้้นบริษัทจำเป็นที่จะต้องแสวงหาผลกำไรมากกว่านี้ซึ่งทำได้ยังในปัจจุบัน(2560) ดังนั้นบริษัทจะต้องหาผลตอบแทนในระดับ 5% ขึ้นไปเพื่อครอบคุมค่าใช้จ่ายต่างได้แก่ค่า commission ค่าดำเนินการที่เกี่ยงเนื่องกับการรับประกัน ค่าเคลม และค่าดำเนินการส่วนกลาง ในส่วนนี้ BLA มีสัดส่วนเยอะสุด

5.รายได้จากการให้กู้ยืมเงินโดยผู้ถือกรมธรรม์ บริษัทจะได้รับดอกเบี้ยแน่นอนและมีหลักประกันเป็นเงินคงเหลือในกรมธรรม์ของลูกค้า

6.ดอกเบี้ยจากลูกค้าในกรณีที่ลูกค้าชำระเบี้ยมากกว่า 1 งวด/ปี

7.ดอกเบี้ยให้กู้ยืมจากพนักงานของบริษัท

8.การลงทุนในตราสารทุน(หุ้น)ซึ่งเป็นเงินส่วนกำไรสะสมของบริษัท

โดยส่วนใหญ่ผลกำไรเกิดจากสัญญาระยะยาวและเกิดจากทรัพย์สินที่เป็นของลูกค้าที่นำมาฝากไว้กับบริษัทประกันชีวิต การดำเนินงานของบริษัทประกันชีวิตไม่ได้แตกต่างกับธนาคารเลย
ข้อดีกว่าธนาคาร => ไม่มีหนี้เสีย จึงมีกำไรที่แน่นอน, ผลกำไรเติบโตต่อเนื่อง(หากมีเบี้ยรับสุทธิเป็นบวก), ช่องทางจำหน่ายผ่านตัวแทนมีค่าใช้จ่ายที่ยืดหยุ่นหากตัวแทนไม่มีผลงานค่าใช้จ่ายจะลดน้อยลงไป
ข้อด้อยกว่าธนาคาร => การบริหารทรัพย์สินเป็นไปตามข้อกำหนดของรัฐ ไม่อาจจะนำเงินลูกค้าไปลงทุนนอกกฎเกณฑ์ได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วถูกบังคับให้ลงทุนในตราสารภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ทำให้ผลตอบแทนน้อยกว่าธนาคาร

ในสภาวะปัจจุบันดอกเบี้ย(risk free rate เช่น Gov. bond) อยู่ในระดับต่ำมาก ทำให้กรมธรรม์ที่บางบริษัทขายไม่มีกำไรหรือกำไรน้อยมากเกิดความเสี่ยงในแง่การแสวงหาผลกำไรเพื่อมาจ่ายตามสัญญาที่ให้ไว้กับลูกค้า นอกจากนี้กรมธรรม์หลายๆฉบับได้ทำสัญญาไว้เมื่อ 15- 20 ปีก่อนที่มีผลตอบแทน(IRR)ให้ลูกค้าสูงถึง 5%กว่า ทำให้ในปัจจุบันอาจจะทำให้บริษัทกำไรน้อยลงหรือขาดทุนได้(เนื่องจากการชำเบี้ยประกันของลูกค้าเป็นปีละครั้ง แต่สัญญาการตอบแทนเป็นระยะยาว ในปีท้ายๆบริษัทรับเบี้ยเข้ามาแต่ไม่อาจจะไปแสวงหาผลตอบแทนที่ดีได้ ,ตัวอย่างจริง ผมทำประกันเมื่อปี 2546 ได้รับ irr 5.x% ถึงปี 2560 ผมก็ยังจ่ายเบี้ยเป็นรายปีจำนวน 10,000บาท เงินก้อนท้ายๆนี้เองที่บริษัทไม่สามารถนำไปหาผลตอบแทนมากกว่า 5% ได้)
แต่อย่างไรก็ตาม BLA และ AZAY ก็ยังมีผลการดำเนินการที่รับได้โดยเฉพาะ AZAY ที่ทำผลงานได้ดีเนื่องจากมีสัดส่วนประกันออมทรัพย์ระยะสั้นน้อยกว่า BLA มาก

หากดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มสูงขึ้นนับจากนี้สถานะการณ์จะเป็นไปในทางตรงกันข้าม คือสัญญาให้ผลตอบแทนแก่ลูกค้าไว้ต่ำ(สำหรับกรมธรรม์ที่ทำไว้ก่อนนี้ราวๆ 6ปี) แต่บริษัทจะแสวงหาผลตอบแทนได้มากขึ้น ด้วยสัดส่วนระหว่างสินทรัพย์และหนี้สินตามสัญญาระยะยาวมีสัดส่วนที่สูงมาก ทำให้ผลกำไรนั้นมีความอ่อนไหวกับดอกเบี้ยมาก

ในส่วนของ AYUD เป็น holding company ถือหุ้นใน
SAGI 100% มีมูลค่าทางบัญชี  1824 ล้านบาท
AZAY 20.17% มีมูลค่าทางบัญชี 2819 ล้านบาท โดยมากจะเน้นการคุ้มครองและสัญญาระยะยาว
และเงินลงทุนราวๆ 2092 ล้านบาท
รวมมูลค่าทางบัญชีได้ 6,735 ล้านบาท(ยังไม่รวมทรัพย์สินอื่นตามบัญชี) ในขณะที่ market cap. อยู่ที่ 30.25*250 = 7562 ล้านบาท
ถือว่าเป็นหุ้นที่น่าสนใจมาก หากดอกเบี้ยไม่ขึ้นก็เท่ากับว่าผลประกอบการจะเติบโตอย่างช้าๆจาก AZAY เป็นหลัก และเงินปันผลที่คาดว่าจะได้รับราวๆ 5% หรือ 6.25% ก่อนภาษี และโอกาสจะเสียหายมีน้อยมาก แต่ถ้าดอกเบี้ยขยับขึ้นมาก็จะทำให้ AZAY มีกำไรเพิ่มขึ้นเยอะสุดแต่อาจจะยังไม่เห็นผลทันทีภายหลังจากการปรับขึ้นดอกเบี้ย รวมถึง SAGI ที่เป็นบริษัทประกันภัยที่มีการบริหารเงินทุนระยะสั้น(เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับสัญญาประกันภัยที่เป็นแบบ ปีต่อปี)
ส่วน BLA จะสามารถกลับรายการสำรอง LAT( Liability adequacy test) ที่ถูกเพิ่มเป็นจำนวนมากในปี 2559-2560 และยังจะรับรู้รายได้จากผลต่างระหว่าง ROI และมูลค่าตอบแทนให้แก่ลูกค้า