Wednesday, September 20, 2017

การวางแผนการเงินระยะยาวและการป้องกันความเสี่ยง

เนื้อหานี้จะชี้ให้เห็นผลตอบแทนที่คนทั่วไปสามารถเลือกที่จะทำได้ และนำมันไปใช้ในการวางแผนทางการเงิน โดยสมมติผลตอบแทนจาก การฝากเงิน ประกันที่ได้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด และกองทุน และชี้ให้เห็นว่าการลงทุนแต่เนินๆจะใช้เงินไม่มาก หากวางแผนช้าอาจจะมีเงินไม่พอใช้ในอนาคต

หากผู้ที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่ๆ บางทีก็ไม่ใช่จังหวะที่เหมาะสมในการวางแผนการเงินเท่าไหร่ เนื่องจากการเริ่มต้นการทำงานใหม่เงินเดือนน้อย ค่าใช้จ่ายมาก

อย่างไรก็ตามหาคุณเริ่มต้นเก็บออมเร็วคุณก็จะมีความมั่นคงทางการเงินมากขึ้นและเร็วขึ้น
สมมติว่าคุณเก็บเงินเริ่มต้นด้วยเงิน 1,000 บาทต่อเดือนหรือปีละ 12,000 บาท ในวันเริ่มทำงานด้วยอายุ 22 ปี
หากคุณฝากธนาคารด้วยผลตอบแทนเฉลี่ย 1.8 %(เลือกเงินฝากพิเศษ และเงินฝากประจำ 2 ปี)
จากตารางเงินที่เก็บไว้ในธนาคารจำนวน 1,000 บาท ทุกเดือน จะเป็น 544,070 บาท ในวันที่คุณอายุ 55 ปี ซึ่งไม่เพียงพอที่จะดำรงชีพอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามเราก็สามารถเพิ่มเงินออมไปตามความก้าวหน้าในอาชีพการงานได้

"หากเก็บเงิน 2,000 บาทต่อเดือนก็ให้เอา 2 คูณผลตอบแทน"



หากหันไปลงทุนด้วยการออมผ่านประกันชีวิตซึ่งต้องเลือกให้ดีเพราะตัวแทนมักจะไม่พูดถึงประเด็นนี้เท่าไหร่ ผลตอบแทนที่ได้ก็ดูงงๆ ตัวแทนส่วนใหญ่ไม่ได้คำนวณว่าผลตอบแทนจริงๆแล้วเมื่อคิดเป็นดอกเบี้ยร้อยละอยู่ที่เท่าไหร่ จากที่เคยวิเคราะห์มาหลายแบบ มีหลายแบบที่ผู้ทำประกันเมื่อมีอายุครบ 60 ปี ไม่มีผลตอบแทนเลย หรือได้ดอกเบี้ย 0% ต่อปี แต่ตัวแทนจะพูดถึงเงินคืนคืดเป็นร้อยละเท่าไหร่ของเงินเอาประกัน ไม่ใช่เงินที่เราส่งไป ขอให้ระวังไว้ให้มาก 

อย่างไรก็ตามมีบางแบบที่ให้ผลตอบแทนที่ราวๆ 2.4% ต่อปี ดีกว่าเงินฝาก ดังนั้นจะทำตารางเปลี่ยนจากดอกเบี้ยร้อยละ 1.8% ต่อปีเป็น 2.4%
ผลที่ได้คือจะมีเงินเพิ่มขึ้นอีก 5หมื่นกว่าบาท นั้นก็ดีกว่าการฝากเงินทั่วๆไปแต่ก็ยังไม่เพียงพอในการใช้ในชีวิตประจำวันในวัยเกษียณ

แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ประกันทำได้ดีกว่าคือ หากเราตาย ประกันก็มีเงินให้คนข้างหลังที่ต้องพึ่งพารายได้จากเรา ไม่มีใครรับประกันได้ว่าคุณจะอยู่ถึงวันพรุ่งนี้ ประกันชีวิตมีหลักการคือ

1.หากคุณทำงานไม่ได้เจ็บป่วยและแย่สุดคือพิการ ใครจะจ่ายเงินค่าเลี้ยงดูคุณและครอบครัวของคุณ
2.ดีขึ้นมาหน่อยคือหากคุณตาย ใครจะเลี้ยงดูครอบครัวคุณ
3.หากคุณตายหรือทำงานไม่ได้ แล้วธุรกิจของคุณใครจะดูแลต่อได้ บางครั้งธุรกิจของคุณนั้นใครก็ทำแทนไม่ได้ หรือทายาทของคุณยังอายุน้อยเกินไปที่จะรับไม้ต่อจากคุณ หรือทายาทของคุณไม่มีแววที่จะทำงานแทนคุณได้
4.ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตทำงาน หากคุณเป็นโรคร้ายแรง เงินที่เก็บมาอาจจะหมดไปกับการรักษาตัว ถ้ารักษาจนหายแต่ไม่มีเงินเหลือ คุณจะทำอย่างไร และเลวร้ายที่สุดคือคุณมีเงินไม่พอรักษาตัว


ถ้าคุณมั่นใจว่าคุณจะอยู่ถึง 60 ปี อย่างแข็งแรงก็ไม่มีอะไรที่จะต้องไปทำประกันชีวิต แต่คุณก็สามารถเลือกที่จะทำประกันแบบออมทรัพย์ได้(ซึ่งให้ผลตอบแทนดีกว่าเงินฝาก)หากคุณไม่ชำนาญเรื่องการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือจะทำประกันออมทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตโพลิโอการลงทุน ดังนั้นการทำประกันชีวิตจึงไม่ใช่การลงทุนหรือฝากเงินเพื่อให้ได้ดอกเบี้ย
จะเห็นว่าแบบประกันที่ผลตอบแทนไม่ดีมักจะให้ความคุ้มครองที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับแบบประกันที่เน้นออมทรัพย์ มาถึงตรงนี้คุณคงพอนึกออกว่าการทำประกันที่ได้ผลตอบแทนต่ำมากนั้นไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดีเสมอไปเพราะเงินบางส่วนที่เราจ่ายบริษัทประกันชีวิตทุกๆปีเขาจะแยกเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่1 นำไปใช้ในการประกันชีวิต ส่วนที่สองเป็นเงินเก็บให้ผู้ถือกรมธรรม์ ในส่วนที่1นั้นแทบทุกแบบจะมีมูลค่าเท่ากัน(คือผู้ซื้อประกันชีวิตจ่ายเท่าๆกันกับแบบอื่น) แต่ส่วนที่สองนั้นไม่เท่ากัน ถ้าความคุ้มครองที่ 1แสนเท่ากัน แบบที่ส่งเงินมากก็จะให้ผลตอบแทน(ที่เทียบเท่าเงินฝาก)ดีกว่าแบบที่ส่งเงินน้อยๆ 
>> หากมีเงินน้อยๆก็ควรทำประกันแบบเงินน้อยคุ้มครองมาก (ค่าเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับอายุแต่ไม่เกิน 1,000 บาทต่อปีต่อการคุ้มครอง 1แสนบาท สำหรับผู้ชายอายุไม่เกิน 44 ปี)
>> หากเน้นออมเงินไปด้วยก็ให้ซื้อแบบออมทรัพย์ หรือจะซื้อผสมๆกันก็ได้ตามแต่ที่เราจะออกแบบ


ลองทำตารางผลตอบแทนอีกแบบคือ แบบที่คุณเพิ่มเงินออมทุกๆ 5 ปี จากเดือนละ 1,000 บาท ก็เพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 500 บาท เมื่อคุณทำงานครบทุกๆ 5 ปี
อย่างไรก็ตามคุณก็ควรมีเงินในบัญชีออมทรัพย์เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินเพราะการออมระยะยาวหรือซื้อประกันหากคุณจะเอาเงินออกมาก่อนครบกำหนดคุณจะเสียผลตอบแทนไปบางส่วน



การเก็บเงินตามตารางนี้ในวันที่คุณอายุ 55 ปี คุณจะมีเงิน 1,336,038 บาท

จะเห็นว่าทั้ง 3 กรณีคุณมีเวลาเก็บเงินถึง 33 ปี แต่คุณก็มีเงินไม่พอที่จะใช้ในวัยเกษียณทั้ง2กรณี นั้นเป็นเพราะ 
1. คุณเก็บเงินต่อเดือนน้อยเกินไป
2. คุณได้รับผลตอบแทนน้อยเกินไป
3. เวลาที่คุณเก็บเงินไม่สัมพันธ์กับจำนวนที่คุณเก็บเงิน หากคุณเก็บเงินไม่มากคุณก็ควรทำงานยาวกว่านี้
หากเก็บเงินช้าเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น คุณอาจจะต้องเพิ่มเงินเก็บเข้าไปอีก และรวมถึงต้องได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า 
แต่ถ้าคุณเป็นอะไรก่อน ทำให้คุณทำงานไม่ได้ นั้นจะทำให้คุณหมดโอกาสที่จะดูแล้วครอบครัวและตัวคุณเองได้อย่างแน่นอน

สิ่งสำคัญคือ หาความรู้ด้านการเงินและการลงทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย

::::: ควรมีเงินเท่าไหร่ในวัยเกษียณ? :::::


มันขึ้นอยู่กับว่าคุณจะใช้เงินเท่าไหร่ในการดำรงชีพในวันนั้น ค่าอาหาร ค่าเสื้อผ้า ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ท่องเที่ยว/เดินทาง สังสรรค์ อื่นๆ

::::: ทางเลือกที่ดีกว่าการฝากเงินหรือการทำประกัน :::::

จากประสบการณ์การลงทุนของผู้เขียนที่ผ่านมาเกือบ 15 ปี การลงทุนในหุ้นคือทางเลือกที่ดีที่สุด ซึ่งโดยส่วนตัวได้รับผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีเกิน 20% ต่อปี แต่ทางเลือกนี้เหมาะสมสำหรับบางคนและไม่เหมาะสมสำหรับบางคน 
สมมติว่าหากเราได้รับผลตอบแทน 20% ต่อปี โดยเที่ลงทุน 1,000 บาทต่อเดือน ผลตอบแทนจะเป็นเท่าไหร่?
||| อีกกรณี หากเพิ่มเงินลงทุนไปตามอายุงาน |||


หากลงเงินคงที่ 1,000 บาทต่อเดือน จะมีเงิน 29.46 ล้านบาท
หากลงเงินเพิ่มทุกๆ 5 ปี(เพิ่ม 500 บาทต่อเดือน)จะมีเงิน 39.13 ล้านบาท
ทั้งสองกรณี คุณมีเงินเพียงพอที่จะใช้ไปจนตาย
แต่น้อยคนนักที่จะรักษาผลตอบแทนระดับ 20% ต่อปีในระยะยาวนาน ถ้าคุณได้ผลตอบแทนเพียง 12.5% คุณก็มีเงินใช้เพียงพอไปตลอดชีวิตแล้วครับ
แม้ว่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีไม่ว่าจะ 12.5% หรือ 20% ต่อปี หากเกิดสิ่งที่ไม่คาดฝัน คุณก็จะเก็บเงินไม่ได้ตามที่ต้องการ และหากคุณมีภาระที่จะต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวหรือบุพการี คุณจำเป็นต้องซื้อประกันความเสี่ยงเพื่อที่จะทำให้คนที่อยู่ข้างหลังของคุณมีหลักประกันที่แน่นอนเหมือนกับว่าคุณได้ดูแลเขาตลอดไป

การศึกษาหุ้นนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทั้งใจ กาย และความรู้รอบด้าน แต่สำคัญคือรู้จักตัวเองว่าตนเองเข้าใจอะไร ไม่เข้าใจอะไร ข้อดีของการลงทุนในหุ้นคือ เป็นเจ้าของกิจการที่มีผู้บริหารคอยทำงานให้และจะมีเวลามากเพียงพอจนคุณรู้สึกว่าวันๆจะทำอะไรดี

หรือ

คุณสามารถเลือกที่จะลงทุนในกองทุน รายละเอียดพื้นฐานผลตอบแทนกองทุนดูที่นี่ >> กองทุน <<


ทางเลือกที่ช่วงหลังบริษัทประกันมักจะหยิบยกมาเสนอให้กับลูกค้าคือ Unit Link 

Unit Link คืออะไร มันก็การทำประกันแบบ Term รวมกันกับการซื้อกองทุน

ดังนั้นมันจะทำงานสองหน้าที่คือ 1.ประกันชีวิต 2.ออมเงินผ่านตลาดหลักทรัพย์ผ่านกองทุน

แต่จะชี้ประเด็นว่า การลงทุนผ่าน Unit Link นั้นเป็นการลงทุนที่เสียเปรียบโดยไม่จำเป็นเลยทีเดียว เพราะเหตุใดคุณจึงมีความจำที่ต้องซื้อกองทุนผ่านบริษัทประกันชีวิตในเมื่อ

1. คุณซื้อประกัน ส่วนเงินที่เหลือคุณก็ไปซื้อกองทุนเอง
2. คุณซื้อกองทุน Unit Link ผ่านประกันชีวิต คุณจะเสียค่าธรรมเนียมหลายต่อ ได้แก่ เสียให้ตัวแทน เสียให้บริษัทประกันชีวิต เสียให้กับผุ้บริหารกองทุน แล้วคุณจะเสียเงินเพิ่มเติมเพื่ออะไร
3. ถึงแม้คุณซื้อกองทุน Unit Link ผ่านบริษัทประกันชีวิต คุณก็เป็นคนเลือกกองทุน เช่นเดียวกันกับที่คุณไปซื้อกองทุนเองซึ่งเสียค่าธรรมเนียมน้อยกว่าพอควร
4. บริษัทประกันชีวิต ไม่รับผิดชอบต่อผลการดำเนินงานของกองทุน หรือจะเรียกว่า Unit Link นั้นมีผลตอบแทนที่ไม่แน่นอน เช่นเดียวกันกับการลงทุนในกองทุนด้วยตัวเองและการลงทุนในหุ้น

::: แล้วถ้าลงทุนในกองทุน ผลตอแทนจะเป็นเท่าไหร่ :::

มันขี้นอยู่กับกองทุนที่คุณเลือก หลายๆกองทุนขาดทุน หลายๆกองทุนผลตอบแทนดีมาก( 10% ต่อปีก็ถือว่าดีมากแล้วครับ)
แต่ถ้าคุณไม่มีความรู้ในการลงทุน ควรเลือกกองทุนดัชนี (ครั้งต่อไปจะเขียนถึงกองทุนดัชนี และจะเอาผลตอบแทนระหว่างการซื้อ Unit Link และซื้อประกัน+กองทุน ใครจะได้ผลตอบแทนดีกว่ากันมากให้ดูครับ)
ลองสมมติว่ากองทุนให้ผลตอบแทน 8% ในระยะยาว คุณออมเงินแล้วจะมีเงินเท่าไหร่



ถ้าลงกองทุนปีละ 12,000 บาท หรือเดือนละ 1,000 บาท เพิ่มเงินออมทุกๆ 5ปีอีก 500 บาท ระยะเวลาในการลงทุนอยู่ที่ 33 ปีคุณจะมีเงิน 3,375,833 บาท แต่ขอให้ระลึกเสมอว่าผลตอบแทนบางปีนั้นอาจจะขาดทุนและไปชดเชยเอาในปีถัดๆไป ดังนั้นเมื่อเกษีณไปแล้ว อายุมากแล้วและไม่ได้ทำงานประจำ การรับผลตอบแทนแบบขาดทุนเป็นสิ่งที่รับได้ยากเพราะเมื่อรายได้ประจำไม่มีเหมือนเดิมแล้วคุณจะรู้สึกไม่ดี และไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ผลตอบแทนจะเป็นบวก 
แต่ถ้ายังรักษาผลตอบแทนที่ 8% เอาไว้ได้ เงิน 3.375ล้านบาทก็จะให้ดอกเบี้ยปีละ 270,000 บาทหรือ เดือน 22,500 บาท เมื่อรวมกับเงินประกันสังคมก็น่าจะเพียงพอที่จะใช้ชีวิตแบบธรรมดาได้เหมือนกัน

สิ่งสำคัญของการวางแผนคือการลงทุนให้ตัวเอง ให้ตนมีความรู้มากกว่าเมื่อวาน เท่าทันกับโลกของธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป วางแผนสม่ำเสมอ และป้องกันสิ่งที่ไม่คาดฝันเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย

จงลงทุนและเก็บออมตั้งแต่อายุยังน้อย และสำคัญกว่าการเริ่มลงทุนคือเริ่มหาความรู้ในการลงทุนที่ถูกต้องและมีทัศนคติที่ถูกต้อง เรียนรู้มันทุกๆวัน

เนื้อหาครั้งต่อไปจะแนะนำการจัดสรรการลงทุน(Asset Allocation)ให้เหมาะสมกับอายุ รายได้ ระยะเวลา และความรู้ที่มี

กรณีศึกษาผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้น
กราฟด้านล่างเป็นผลตอบแทนของพอร์ตคุณวิยะดา(นุ่ม) ตั้งแต่ปี มค. 2014 - เมษา 2017 ข้อมูลจาก itracker ของบัวหลวง(ส่วนที่ขาดไปนั้นเนื่องจากย้ายพอร์ตการลงทุนไปยังโบรกเกอร์ SBITO ไม่มีบริการเหมือนอย่างโบรกเกอร์บัวหลวง แต่ผลตอบแทนก็ยังดีอยู่☺)
ระยะเวล 3 ปี 4 เดือน 

=>> การลงทุนทำผลตอบแทนได้ 138% (ถ้าใครมีพอร์ตลงทุนกับบัวหลวงจะดูออกครับว่าหากไม่ถือเงินสดมากเกินไปผลตอบแทนน่าจะเกิน 200% ) Update ผลตอบ
=>> เมื่อเทียบกับ SET50 ได้ผลตอบแทน 12.5% ถ้ารวมผลตอบแทนของ SET50 อีกปีละ 3% ก็น่าจะได้ผลตอบแทนที่วันออกมาเป็น SET50 TRI ราวๆ 26.0% นี่ก็คือผลตอบแทนของกองทุน SET50 นั้นเอง(ก่อนหักค่าธรรมเนียมต่างๆ)

หมายเหตุเอามาให้ดูเพื่อเป็นแรงบันดาใจให้กับคนที่ต้องการวางแผนการเงินให้กับตัวเอง แต่แนวทางการบริการเงินก็ไม่ใช่เรื่องหุ้นเสมอไปยังมีอีกหลายทางที่น่าสนใจ

*** สำคัญที่สุดของการวางแผนการเงินคือ การรักษาผลตอบแทนให้ได้ในระยะยาว คือสิ่งเดียวกันกับการรักษาความรู้ให้เพิ่มพูนตลอดเวลา หากแค่วางแผนแต่ทำไม่ได้ แผนก็ยังเป็นแค่แผนยังไม่ใช่ความจริง >> จงลงมือทำเดียวนี้***






No comments:

Post a Comment